วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

ลักษณะทารกแรกคลอด

ลักษณะของทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักระหว่าง 2.5 - 4.5 กก. และมีความยาวตั้งแต่ 48 - 51 ซม. ลักษณะของทารกแรกคลอดมีดังนี้
1. ศีรษะ ทารกแรกคลอดจะมีศีรษะใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ดูผิดรูป ทั้งนี้เพราะขณะที่ลูกค่อยๆ เคลื่อนมาตามช่องคลอด หัวจะค่อยๆ ถูกบีบไปตามลักษณะช่องคลอด บางครั้งหัวด้านข้างของลูกอาจดูบวม เพราะถูกกด อาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสมอง และจะยุบหายไปเองในเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนบนของศีรษะลูกที่คลำดูนิ่มๆ เรียกว่ากระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) เป็นส่วนที่กะโหลกยังประสานกันไม่หมด จะค่อยๆ ปิดสนิทเมื่อลูกอายุ 18 เดือน บางทีคุณอาจสังเกตเห็นส่วนนี้เต้นตุบๆ เมื่อลูกหายใจ


2. ผิวหนังทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีไขเคลือบผิว เพื่อช่วยหล่อลื่นเวลาไหลเคลื่อนผ่านช่องคลอด และช่วยป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนังได้ ไขนี้จะหลุดลอกออกไปเองตามธรรมชาติในเวลา 1 - 2 วัน จุดและผื่นต่างๆ จะพบได้ตามปรกติ และจะค่อยๆ จางหายไปจนกลืนไปกับผิวส่วนอื่นหนังลอก หนังบริเวณมือและเท้าจะลอกออกไปใน 2 - 3 วันขนอ่อนตามตัว (Lanugo) ซึ่งปกคลุมร่างกายลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง พบมากเป็นพิเศษในทารกคลอดก่อนกำหนด จะค่อยๆ หลุดลอก ออกไปเองภายในเวลา 2 สัปดาห์ และขนที่แท้จริงจะงอกขึ้นมาแทนที่ปาน เมื่อคุณแม่พินิจพิจารณาดูลูกอย่างใกล้ชิด คุณจะเห็นปาน ตามตัวของลูกมีลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนมากเกิดจากกลุ่มเลือด ฝอยใต้ผิวหนัง ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด เพราะปรกติ แล้วจะหายไปเองปาน, ปานแดง: เป็นรอยปื้นสีชมพูจางๆ หรือแดง พบบ่อยที่บริเวณจมูก, เปลือกตา และต้นคอด้านหลัง จะจางหายไปในราว 1 ปีปานสตรอเบอรี่ (Strawberry marks): จะมีสีแดงคล้ำ บางครั้งปรากฏขึ้น 2 - 3 วันหลังคลอด จะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขวบปีแรก แล้วจะจางหายไปเมื่ออายุราว 5 ขวบปานพอร์ตไวน์สเตน (Port wine stain): เป็นปานแดงชนิดถาวร มีลักษณะเป็นปื้นขนาดใหญ่ มักพบบริเวณหน้าและลำคอของทารก หากมีข้อสงสัย, กังวลเกี่ยวกับปานชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ปานมองโกเลีย (Mongolian spot): มักจะพบในทารกที่มีสีผิวคล้ำ เช่นททารกผิวดำ, ทารกเอเชีย มักเป็นบริเวณก้น หรือบริเวณหลัง ส่วนล่างของทารก อาจดูเหมือนรอยเขียวช้ำ ไม่มีอันตรายใดๆ และจะจางหายไปในที่สุด

3. เต้านมบ่อยทีเดียวที่พบทารกมีเต้านมไม่ว่าหญิงหรือชายดูโตกว่าปรกติ และอาจมีน้ำนมไหลออกมาด้วย เนื่องจากฮอร์โมนจากแม่ผ่าน ไปสู่ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และยังมีผลต่อลูกอยู่ในช่วงหลังคลอดนี้ อย่าบีบน้ำนมจากเต้านมของลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการ อักเสบจนเป็นฝีได้ เต้านมจะยุบไปเองในไม่ช้า

4. สายสะดือสายสะดือจะเหี่ยว, แห้งและหลุดออกไปเอง ประมาณ 10 วัน หลังคลอด ควรเปิดสะดือให้แห้ง จะสะอาดและหลุดง่าย

5. อวัยวะเพศทารกชาย หากคลอดครบกำหนด ลูกอัณฑะมักจะลงมา ในถุงอัณฑะตั้งแต่แรกคลอดอยู่แล้ว ถ้าสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ทารกหญิง อาจมีสีคล้ำ บวมเล็กน้อย บางคนมีมูกคล้ายตกขาว บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอดคล้ายๆ ประจำเดือนเมื่ออายุ 2 - 3 วัน เป็นเพราะฮอร์โมน
จากคุณแม่ที่ผ่านสายรก (พร้อมฮอร์โมนที่ทำให้เต้านมโต) และจะหายไปเองในเวลา 1 - 2 สัปดาห์

6. มือและเท้าปลายมือปลายเท้าของทารกแรกเกิดอาจมีสีเขียวคล้ำ เนื่องจากเลือดยังไหลเวียนไม่ดี และมักมีเล็บยาว ทำให้ขีดข่วนหน้า ควรเล็มออกเล็กน้อย ยามลูกนอนหลับ หากจะสวมถุงมือถุงเท้าให้ลูก ต้องสำรวจดูด้านในของถุงมือ ถุงเท้าเสียก่อนว่า ไม่มีเส้นด้ายรุ่งริ่ง เพราะอาจไปรัดนิ้วของลูกได้ ผิวบางส่วนอาจดูแห้งและหลุดลอก ซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน

7. การหายใจทารกแรกเกิดมักจะหายใจไม่สม่ำเสมอเหมือนผู้ใหญ่ คือจะหายใจเป็นพักๆ และหยุดเป็นพักๆ ได้ อัตราการหายใจของเด็กแรกเกิด จะเท่ากับ 20 - 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งเร็วกว่าผู้ใหญ่ปรกติ

8. อุจจาระทารกแรกเกิดส่วนมากจะถ่ายภายใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า "ขี้เทา" (Meconium) มีลักษณะเหนียวๆ สีเขียวดำ วันต่อมาจะมีสีจางลง วันที่ 3 - 4 จะมีสีเหลือง ดูเหลว เด็กที่กินนมแม่จะมีอุจจาระสีเหลืองทอง ถ้าทานนมขวดจะเป็นก้อน อาจถ่ายยากสักนิดเมื่อเทียบ กับเด็กที่กินนมแม่ ปรกติทารกแรกเกิดจะถ่ายบ่อย วันละ 3 - 5 ครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าท้องเสีย หรือท้องเดินตัวเหลือง (Jaundice)อาการตัวเหลืองจะปรากฏขึ้นในวันที่ 3 หลังคลอด ที่นัยน์ตาขาวก็อาจมีสีเหลืองด้วย แต่เหลืองไม่มาก และจะค่อยๆ จางหายไปในเวลา 6 - 7 วัน จนหายไป เมื่อเด็กอายุได้ 1 - 3 สัปดาห์ ถ้าเหลืองจัดหรือมีอาการ ตัวเหลืองนาน ควรรีบปรึกษาแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น