วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

เมนุ วัย 1+

ต้มกะทิปลาข้าวโพด
เมนูปลาพัฒนาสมอง, เมนูสำหรับเด็ก 1-3 ปีเมนูปลาน่าหม่ำสำหรับเด็ก ๆ วันนี้เสนอเมนูที่ชื่อว่า “ต้มกะทิปลาข้าวโพดอ่อน” เหมาะสำหรับเป็นเมนูลูกรักวัยตั้งแต่ 1-3 ปี มีส่วนประกอบและวิธีการทำดังนี้ครับเครื่องปรุง :1) เนื้อปลาทูสดหั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ตัว2) ข้าวโพดอ่อนหั่นท่อนสั้นๆ 1/4 ถ้วย3) หัวกะทิ 1/2 ถ้วย4) หางกะทิ 1 ถ้วย5) ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา6) เกลือป่น 1/4 ช้อนชาวิธีทำอาหาร :ต้มหางกะทิกับข้าวโพดอ่อนจนสุก ใส่เนื้อปลา ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว และเกลือป่น เติมหัวกะทิ พอเดือดยกลงเคล็ดไม่ลับ :น้ำซุปในที่นี้ ก็คือ น้ำต้มกระดูกหมู หรือน้ำต้มโครงกระดูกไก่ก็ได้ แต่ถ้าไม่มีก็สามารถใช้น้ำเปล่าก็ได้นะคะ

ปลาราดหน้าฟักทอง
เมนูปลาพัฒนาสมอง, เมนูสำหรับเด็ก 1-3 ปีเมนูลูกรักวันนี้ เพียงแค่เห็นหน้าตาก็น่ารับประทานมาก แถมยังเน้นเป็นเมนูปลาอาหารบำรุงสมองเหมือนเดิม มาดูส่วนประกอบกันเลยเครื่องปรุง :1) เนื้อปลาช่อนสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ2) ฟักทองต้มสุกบดละเอียด 1/4 ถ้วย3) น้ำซุป 2 ช้อนโต๊ะ4) ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา5) น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา6) น้ำมันพืช 1 ช้อนชาวิธีทำอาหาร :- ผัดปลากับน้ำมัน เติมน้ำซุป ผัดจนสุกทั่ว ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว และน้ำตาลทราย- ตักราดฟักทองบดเห็นเครื่องปรุงเยอะแบบนี้ แต่วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเลยใช่มั้ยคะ แถมได้หน้าตาอาหารเป็นเมนูลูกรักน่าทานมาก หวังว่าคงจะถูกอกถูกใจเด็ก ๆ นะคะ

ทอดมันปลา
เมนูปลาพัฒนาสมอง, เมนูสำหรับเด็ก 1-3 ปีอาหารเมนูปลามาก ๆ ทานแล้วดีมีประโยชน์ แถมลูก ๆ ยังมีพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย วันนี้ขอเสนอ “ทอดมันปลา” โดยสามารถเตรียมเครื่องปรุงดังนี้คะเครื่องปรุง :1) ปลาอินทรีหรือปลากรายขูด 2 ช้อนโต๊ะ2) กระเทียม 1 กลีบ3) รากผักชี 1 ราก4) แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ5) เนยแข็งขูด 2 ช้อนโต๊ะ6) ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา7) เกลือปลายช้อนชา น้ำตาลทรายปลายช้อนชา9) น้ำมันพืชสำหรับทอด10) น้ำจิ้มบ๊วยวิธีทำอาหาร :ตำกระเทียมกับรากผักชีให้ละเอียด ใส่ปลา ซีอิ๊วขาว ปั้นเป็นก้อนกลม ชุบแป้งมัน นำไปทอดพอเหลือง รับประทานกับน้ำจิ้มบ๊วย

ปลาม้วน
เมนูปลาพัฒนาสมอง, เมนูสำหรับเด็ก 1-3 ปีเครื่องปรุง :1) เนื้อปลากะพงแดงแล่เป็นแผ่นบาง 3 ชิ้น2) หมูสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ3) เห็ดหอมแห้งแช่น้ำจนนิ่มหั่นบางๆ 1 ช้อนโต๊ะ4) ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา5) เกลือปลายช้อนชา6) น้ำตาล 1/2 ช้อนชาวิธีทำอาหาร :หมักเนื้อปลากับเกลือ น้ำตาล และซีอิ๊วขาว ใส่หมูสับและเห็ดหอมลงไปตรงกลางเนื้อปลา ม้วนให้แน่น ใช้ไม้จิ้มฟันแหลมๆ เสียบไว้กันหลุด นำไปนึ่งจนสุก เวลารับประทานให้ดึงไม้จิ้มฟันออก

ข้าวต้มปลาสับกับผักโขม
เมนูปลาพัฒนาสมอง, เมนูสำหรับเด็ก 1-3 ปีมีผลการวิจัยสรุปว่าการให้เด็กทานปลาตั้งแต่เล็ก จะช่วยให้มีพัฒนาการทางสมองที่ดี วันนี้เลยได้แนะนำข้าวต้มปลาสับกับผักโขม เพื่อโภชนาการที่ครบทั้ง 5 หมู่ครับเครื่องปรุง :- ข้าวสวย 1 ช้อนโต๊ะ- ปลากะพงหั่นชิ้นเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ- มันฝรั่งสับ 1 ช้อนโต๊ะ- ผักโขมสับ 1/2 ช้อนโต๊ะ- น้ำซุป 1 ถ้วย- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชาวิธีทำอาหาร :- ลวกปลาพอสุก พยายามอย่าให้แข็ง เสร็จแล้วพักไว้- ต้มน้ำซุปกับมันฝรั่งจนสุกด้วยไฟปานกลาง ใส่ข้าวลงไป พอน้ำเดือดอีกครั้งใส่ปลา ผักโขม และปรุงรส ด้วยซีอิ๊วขาว รอจนสุกจึงยกลงเมนูนี้ทำได้ไม่ยากเลย คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปทำให้ลูก ๆ ดูคะ เผื่อลดอาการเบื่ออาหารในเด็กได้ อิ ๆ

ปลาตุ๋นไข่แดง
เมนูปลาพัฒนาสมอง, เมนูสำหรับเด็ก 1-3 ปีวันนี้มีเมนูอาหารที่ประกอบจากปลาและไข่มานำเสนอคะ เป็นเมนูสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 1 ถึง 3 ปี หวังว่าจะถูกอกถูกใจคุณแม่ที่หมดมุขเรื่องทำอาหารสำหรับลูกที่เริ่มมีอาหารเบื่ออาหารนะคะเครื่องปรุง :1) เนื้อปลาอินทรีขูด 1 ช้อนโต๊ะ2) ไข่แดง 1 ฟอง3) น้ำซุป 2 ช้อนโต๊ะ4) ซีอิ๊วขาววิธีทำอาหาร :ผสมเนื้อปลากับไข่แดง และน้ำซุป ตีเบาๆ ให้เข้ากัน นำไปตุ๋นจนสุกดี หรือประมาณ 10 นาที เท่านี้ก็ได้เมนูปลาตุ๋นไข่แดงแสนอร่อยแล้วคะ

อาหารเสริมประเภทต่างๆ

ข้าว แป้ง
อาหารเสิรมชนิดแรกของเด็ก คือ แป้ง อาหารประเภทแป้งเป็นอาหารที่นุ่ม ไม่เป็นกาการะคาย สามารถเตรียมได้ให้มีลักษณะคล้ายนม ความข้น ความเหลวควรจะให้เหมาะกับวัยของเด็ก อาหารแป้งที่ให้เด็กจะใช้ข้าว แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม แป้งสาลี สาคูเม็ดเล็ก

ผัก
เด็กควรจะได้เริ่มหัดกินผักเมื่ออายุ 3 เดือน คือพร้อมๆกับเนื้อ โดยต้มให้เปื่อย บดหรือยี ควรให้วันละ 1 ครั้งก่อน ผักแต่ละอย่างที่ให้เด็กควรจะให้ซ้ำกัน 4-5 วันจึงเปลี่ยนเป็นผักชนิดใหม่ เพื่อให้เด็กชินกับการกินผักชนิดนั้นก่อน เพื่อให้เด็กกินผักเป็นทุกชนิดเพราะผักแต่ละอย่างมีความมากน้อยในวิตามิน เกลือแร่ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตต่างกันเมื่อเด็กกินผักแล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่นเป็นผื่น บวมแดงบริเวณก้น ท้องเสีย อาการเช่นนี้จะเกิดทันทีหลังจากกินผักนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรจะหยุดป้อนผักชนิดนั้นก่อน ค่อยเริ่มใหม่ในเดือนต่อไป หรือทิ้งระยะสัก 2 เดือนจึงเริ่มใหม่การทำผักให้เด็กอายุ 3 เดือน ผักที่ให้ควรต้องต้มให้เปื่อย บดหรือยีให้ละเอียด เลือกผักที่กากน้อย เช่นใบผักโขม มันเทศ ใบผักบุ้ง ใบตำลึง ฟักทอง มันฝรั่ง วิธีทำอาหารผักให้เด็กเล็กๆง่าย ก่อนอื่นต้องเลือกผักที่สด ใหม่ ไม่แก่ ล้างให้สะอาด แล้วต้มใช้หม้อเล็กๆปิดฝาต้ม เคี่ยวให้ผักเปื่อยเป็นใช้ได้ ไม่ควรใส่น้ำมาก และควรจะใช้น้ำต้มผักนั้นด้วย เพราะเกลือแร่และวิตามินจะอยู่ในน้ำต้มผักนั้นด้วย เติมเกลือเพียงเล็กน้อยลงในผักที่ต้มกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี เพื่อความแน่ใจว่าเด็กจะไม่ท้องอืด เพราะผักประเภทนี้เมื่อกินแล้วจะทำให้เกิดแก๊ซได้ อาจทำให้เด็กท้องอืด เสียดท้องได้ ผักประเภทนี้ ควรจะให้เมื่อเด็กอายุ 9 เดือนหรือ 1 ขวบขึ้นไป ผักประเภทหัวและราก เช่น ไชเท้า แครอท หอมหัวใหญ่ บวบ ถั่วงอกและผักอื่นๆควรจะเริ่มให้เด็กเมื่ออายุ 3-4 ขวบขึ้นไป เด็กเมื่อโตขึ้นย่อมมีความรู้สึกเรื่องรสและกลิ่นดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากเด็กจะมีความรู้สึกเรื่องรสแล้ว ยังมีความรู้ในเรื่องกลิ่น ฉะนั้นในการเลือกผักทำอาหารให้เด็กต้องดูวัยของเด็ก เปลี่ยนแปลงวิธีการหุงต้มผักตามวัยของเด็ก เช่น จากผักบดเป็นต้มเปื่อย เป็นอบ เป็นผัด และให้เด็กได้หัดกินผักสดบ้างเมื่ออายุ 3 ขวบขึ้นไป เริ่มทดลองให้กินผักที่มีรสหวาน เช่น แตงกวา มะเขือเทศครั้งแรกเมื่อให้ผักแก่เด็ก ควรเริ่มจากผักใบเขียว เช่น ใบตำลึง ใบผักบุ้ง ผักโขม โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ช้อนชา แล้วจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น 2 ช้อนโต๊ะ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1/4 ถ้วย การให้อาหารประเภทผักควรจะเริ่มให้ในมื้อบ่ายหรือเที่ยงก่อน โดยผสมกับข้าวและเนื้อสัตว์ต่างๆ ต่อมาจึงเพิ่มให้มื้อเย็นอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เมื่อเด็กกินอาหารทั้ง 3 มื้อ มือ้เช้าควรจะเป็นน้ำผลไม้ ผลไม้สด มื้อกลางวันและมื้อเย็นควรจะให้ทั้งผักใบเขียวและผักสีเหลืองผักที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรเลือกผักที่สดและใหม่ และควรเป็นผักที่หาได้ในท้องถิ่น ล้างผักให้สะอาดโดยใช้น้ำมากๆ ล้างหลายๆครั้งก่อนที่จะทำเป็นอาหารให้เด็ก

เนื้อสัตว์
เนื้อแลไก่ควรจะเริ่มให้เมื่อเด็กอายุ 3 เดือน เนื้อและไก่เป็นอาหารที่ให้สารอาหารโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง ฉลาด เนื้อและไก่ที่ให้เด็กควรเลือกส่วนที่ไม่มีไขมัน ถ้าเป็นไก่ควรจะเอาหนังออก เริ่มแรกในการให้อาหารประเภทนี้แก่เด็ก ควรจะใช้วิธีต้ม อบ ตุ๋น แล้วจึงบดหรือสับให้ละเอียด การเริ่มให้อาหารประเภทเนื้อ ควรให้ตอนมื้อเที่ยงโดยเริ่มจาก 2-3 ช้อนชาก่อน โดยผสมกับข้าวบดผักบดการทำอาหารประเทภเนื้อ สำหรับเด็กเล็กไม่ควรใช้เครื่องเทศ ผงชูรส หรือสารเคมีต่างๆที่ช่วยในการเปื่อย ให้เปื่อยโดยวิธีต้มเคี่ยว แล้วจึงบดหรือสับให้ละเอียด ในการทำแต่ละครั้ง ไม่ควรทำไว้มากเกินที่ป้อนใน 1 วันหรืออย่างมากได้เพียง 2 วัน เมื่อเหลือเก็บส่วนที่เหลือในกล่องปิดฝาให้แน่นใส่ตู้เย็น เมื่อจะใช้จึงอุ่นการเลือกเนื้อไก่ควรเลือกไก่อ่อน ไก่อ่อนจะมีสีขาวเนื้อจะนุ่ม ถ้าไก่แก่เนื้อจะหยาบ เนื้อควรเลือกเนื้อสันในหรือเนื้อส่วนตะโพก หมูก็ควรใช้หมูที่ไม่ติดมันเลือกใช้แต่หมูเนื้อแดง

ตับ
ตับเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้ทั้งอาหาร โปรตีนและธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังให้วิตามินเอ ไรโบเฟลวิน และไนอาซีน ตับที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรจะใช้ตับไก่ ตับหมู เลือกตับที่ไม่ขม ควรทำตับให้เด็ก ทำเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์อื่นๆและให้เมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือน เช่นเดียวกับเนื้อ

ไข่
เด็กอายุประมาณ 3-4 เดือน ควรจะเริ่มให้ไข่แดงลวกยางมะตูม โดยเริ่ม 1 ช้อนชาก่อนแล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1 ฟองไข่แดง ส่วนใหญ่จะเริ่มให้ไข่ทั้งฟองเมื่อเด็กอายุ 10 เดือนขึ้นไป โดยให้ไข่ต้มยางมะตูมยีผสมกับข้าวต้มเปื่อย ถ้าเด็กกินแล้วไม่เกิดอาการผื่นคัน อาเจียน ก็ควรจะให้ต่อไปอย่างน้อยเด็กอายุระหว่าง 10 เดือน ถึง 2 ขวบ ควรจะให้กินไข่อาทิตย์ละ 5 ฟอง

ปลา
ควรให้เด็กกินปลาเมื่ออายุ 10 เดือน ตามปกติเด็กจะชอบปลา เพราะเนื้อปลาส่วนใหญ่จะนุ่ม รสหวาน ไม่ต้องเคี้ยวมาก ปลาให้สารอาหารประเภทโปรตีนและให้ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรงเจริญเติบโต เพราะแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จะทำงานร่วมกัน หน้าที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ในวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแร่ธาตุนี้มากที่สุด ปลาที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรเลือกปลาที่มีเนื้อมาก ไม่มีไขมัน สด ใหม่ เช่น ปลานิล ปลาสำลี ปลาตาเดียว ปลากะพง เป็นต้น การทำอาหารปลาสำหรับเด็ก ใช้วิธี นึ่ง อบ ต้ม ย่างหรือทอดก็ได้ แต่ต้องเอาก้างออกให้หมดโดยใช้นิ้วมือบี้ การใช้มือบี้จะช่วยให้ปลอดภัยและแน่ใจว่าไม่มีก้างติด

ผลไม้สด
เด็กอายุ 3 เดือน ควรจะเริ่มให้กินกล้วยสุกครูดเอาแต่เนื้อกล้วยแล้วจึงบด เริ่ม 1 ช้อนชา แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควรจะให้ในช่วง 10 โมง หรือบ่าย นอกจากกล้วยผลไม้สุกอื่นๆเช่นมะละกอสุก ฝรั่งสุก มะม่วงสุก ถ้าต้มเปื่อยหรือตุ๋นแล้วบดหรือยีให้เด็กก็ได้ เปลี่ยนจากกล้วยเป็นมะละกอตุ๋น ฝรั่งสุกตุ๋น แล้วบดเด็กอายุ 8 เดือน ควรจะได้เริ่มกินผลไม้สด เลือกผลไม้ที่มีรสหวาน หัดให้เด็กหยิบใส่ปากเอง ใช้ผลไม้สุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ ผลไม้ที่ใช้ได้ เช่น มะละกอสุก ฝรั่งสุก แตงไทย องุ่น ลอกเปลือกออกเอาเมล็ดออกไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำเลอะเทอะ เมื่อป้อนเสร็จจึงค่อยทำความสะอาดน้ำผลไม้น้ำผลไม้จะให้เมื่อเด็กอายุ 4 เดือน ควรจะให้น้ำผลไม้ที่คั้นจากผลไม้สด ถ้าจะใช้น้ำผลไม้กระป๋องหรือขวด จะต้องเลือกชนิดที่เป็นของเด็ก ซึ่งจะมีสลากบอกข้างขวดหรือกระป๋องว่าใช้สำหรับเด็กได้ เราต้องการให้เด็กได้วิตามินซี จึงให้น้ำผลไม้แก่เด็ก

น้ำผลไม้
ที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน ควรจะใส่ขวดให้ดูด ให้ 1 ออนซ์แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 3-4 ออนซ์ น้ำส้มคั้นใช้ส้มเกลี้ยง ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ล้างเปลือกเช็ดให้แห้งแล้วจึงผ่า มือและเล็บผู้คั้นควรจะสะอาด เมื่อให้ครั้งแรกควรจะให้ครึ่งผลก่อน ครั้งแล้วกรองผสมน้ำสุก ใช้น้ำส้ม 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กอายุ 5 เดือนเพิ่มเป็น 3-4 ออนซ์ โดยไม่ต้องผสมน้ำและกรองเมื่อเด็กอายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรจะเริ่มหัดให้เด็กได้ดื่มน้ำผลไม้จากแก้ว เด็กต้องการวิตามินซีวันละ 4 มิลลิกรัม แต่ต้องการทุกๆวัน น้ำส้ม 3 ออนซ์ ให้วิตามินซีถึง 50 มิลลิกรัม

เครื่องดื่ม
เมื่อเด็กอายุ 1 ขวบ เขาควรจะได้ดื่มเครื่องดื่มเป็นของว่างแทนน้ำผลไม้ หรือนมบ้างในบางมื้อ เป็นการฝึกนิสัยในการกินที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะได้เป็นคนไม่เลือกอาหาร เครื่องดื่มที่เราควรจะให้เด็กเราต้องคำนึงถึงสารอาหารที่เด็กจะได้รับ เพราะเมื่อเด็กดื่มแล้วอาจจะอิ่ม ทำให้กินอาหารได้น้อยลง เครื่องดื่มสำหรับเด็กจึงควรให้สารอาหารโปรตีนด้วย เลือกเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอยู่ในส่วนผสมของเครื่องดื่มนั้นๆ และควรทำเองดีกว่าที่จะซื้อชนิดบรรจุกระป๋องหรือขวด เพราะอาจจะหวานมากไปสำหรับเด็กและเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องหรือขวดมักใส่ยากันบูดไม่เหมาะให้เด็กดื่ม ส่วนผสมของเครื่องดื่มควรเลือกผลไม้สดใหม่ และมีในฤดูกาล ไม่หวานจัด เช่นผลไม้ปั่น กล้วยผสมนม น้ำส้มกับไอศกรีม

อาหารบริหารฟัน
เด็กเมื่อฟันขึ้น ควรให้ขนมประเภทที่ออกแรงขบเคี้ยวให้เด็กถือหรือป้อนเอง แต่ขนมควรจะเป็นชนิดที่ละลายได้ในปาก เคี้ยวขาดง่ายสำหรับวัยของเขา เช่น บิสกิต ขนมปังแท่ง คุกกี้ ขนมผิง ทองม้วน ครั้งแรกบิเป็นชิ้นเล็กๆวางไว้ในจานให้เขาหยิบเอง แล้วจึงให้เป็นชิ้นเมื่อเขาชินและเข้าใจถึงวิธีการป้อนขนมด้วยตนเอง เมื่อเริ่มให้ถ้าให้ชิ้นใหญ่เดี๋ยวเด็กอาจจะใส่ปากทั้งอันอาจสำลักแล้วเข็ดไม่กล้ากินอีกต่อไปเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรจะได้เปลี่ยนนมเป็นนมแบบผู้ใหญ่ดื่ม และควรจะได้กินอาหาร 3 มื้อ นมเป็นเพียงอาหารเสริมระหว่างมื้อ เมื่อเด็กอายุครบ 1 ขวบ ต้องพยายามให้เด็กกินอาหาร 3 มื้อให้ได้ เพื่อที่จะให้เด็กได้สารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เปลี่ยนลักษณะของอาหารให้เหมาะกับความเจริญเติบโตของเด็ก

เมนู วัย 8-12 เดือน

สตูว์ไก่
สันในไก่หั่นชิ้นเล็กๆ คลุกกับแป้งสาลีและเกลือป่นหมักไว้ นำไปทอดให้เหลือง ผัดหอมใหญ่ หัวแครอทชิ้นเล็กๆ จนเหลือง ใส่เนื้อไก่ ถั่วแขก มันฝรั่ง เติมน้ำต้มกระดูกไก่ เคี่ยวจนเนื้อเปื่อย ผักสุกนิ่ม

น้ำซุปไก่
ปอกเปลือกหัวไชเท้า แครอท อย่างละ 1 หัว ตัดครึ่ง ผ่า 4 ขึ้นฉ่าย 1 ต้น ตัดรากออก นำกระดูกไก่ลงแช่น้ำ นานประมาณ 40 นาที ใส่ผักทั้งหมดลงในหม้อน้ำกระดูกไก่ เติมเกลือ 1 ชช ยกขึ้นตั้งไฟ ใช้ไฟอ่อนเคี่ยวนาน 30 นาที ระวังอย่าให้เดือด ช้อนฟองออกตักผัก กระดูกไก่ออก กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำน้ำที่ได้ ไปต้มอีกครั้ง

ข้าวนึ่งนม
ผสมข้าวสารกับนมและเกลือ เข้าด้วยกัน นึ่งจนข้าวสุก เวลาทานราดด้วยน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้ง

ผัดมักกะโรนีกุ้ง
ต้มมักกะโรนีในน้ำเดือด ใส่เกลือป่นเล็กน้อยต้มจนมักกะโรนีนิ่ม ตักขึ้นแช่น้ำเย็น ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผัดเนยกับหอมหัวใหญ่หั่นละเอียด ใส่มะเขือเทศ น้ำตาล เกลือ น้ำซุปเล็กน้อย ตามด้วยกุ้งสดสับชิ้นเล็กๆ ใส่มะกะโรนี ผัดให้เข้ากัน

แตงกวาสอดไส้
แตงกวาหั่นขวาง คว้านไส้กลางออกผสมเนื้อหมูสับหรือกุ้งสับ หอมใหญ่สับ แป้งในและเกลือป่น เข้าด้วยกัน โรยแป้งสาลีเล็กน้อย ยัดไส้ลงในแตงกวา จัดเรียงลงหม้อ เติมน้ำต้มกระดูกไก่พอท่วม ต้มจนสุก

ปลาทอด
ปลาตาเดียว หรือปลาช่อน ลอกหนังและเลาะกระดูกออก หั่นหนาประมาณ 1/2นิ้ว เคล้าปลากับน้ำมะนาวและเกลือ หมักไว้ 10 นาที ละลายเนยในกระทะ นำปลาลงทอดให้สุก

ผัดเม็ดถั่วลันเตา
ใส่น้ำมันลงในกะทะ ผัดหมูสับ มะเขือเทศ และเม็ดถั่วลันเตาต้มสุก ปรุงรสด้วยเกลือป่น ตักใส่จาน ตีไข่ นมสด เกลือป่น ให้เข้ากัน ละลายเนยในกะทะ เทไข่ที่ผสมแล้วลงไปคนให้กระจาย ใส่เม็ดถั่วที่ผัดกับหมูสับมะเขือเทศลงไป คนให้เข้ากัน

ขนมปังแพนเค้ก
ปั่นขนมปัง ไข่ นม วานิลลา เข้าด้วยกัน ให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ละลายเนยในกะทะแบน ตั้งไฟพอร้อนตักส่วนผสมลงทอด

มันฝรั่งชุบไข่ทอด
ต้มมันฝรั่งทั้งเปลือกให้สุกนิ่ม ลอกเปลือกออก หั่นเป็นแว่นบางๆ และหั่นเป็นชิ้นเป็นชิ้นใหญ่ๆอีกที หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นเล็ก หมักกับเกลือป่นเล็กน้อย ละลายเนยในกะทะ นำเนื้อหมูกับมันฝรั่งลงผัด ตีไข่ให้ขึ้นฟู ใส่มันฝรั่ง เนื้อหมู ที่ผัดไว้ นำไปทอดให้เหลืองสุก

หมูสับราดหน้าผักหมูสับ
หอมใหญ่สับ เกลือป่น ไข่ขาว แป้งมัน ผสมให้เขากัน เสร็จแล้วปั้นหมูเป็นห้อนกลมเล็กๆ ทอดให้สุก ลวกแครอท กะหล่ำดอก มะเขือเทศ ถั่วแขกพอสุก นำผักทั้งหมดลงผัด เติมน้ำซุป เกลือป่น ละลาย แป้งมันใส่ ตักราดเนื้อหมูที่ทอดแล้ว


ข้าวบดไก่
เครื่องปรุง ข้าวสุก 1/2 ถ.เนื้อไก่สับ 1 ช.ต.น้ำ 1 1/2 ถ.ซีอิ้วขาว 1/2 ช.ช.
วิธีทำ 1. ต้มข้าวสุกกับน้ำ ต้มไฟปานกลางจนข้าวสุกแล้วใส่ไก่สับ ต้มไฟอ่อน2. คนจนกระทั่งเนื้อไก่สุก นำมาบดด้วยหลังช้อนพอให้เข้ากัน


มันเทศกวน
เครื่องปรุงมันเทศ 1 หัวเล็ก ลูกเกด 1 ชต.เนยสด 1ชต.น้ำตาลทราย 1 ชต.
วิธีทำ1. มันเทศล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นพอคำ นำไปต้มหรือนึ่งให้สุกนิ่ม 2. ใส่มันเทศที่ต้มหรือนึ่งลงในหม้อ ยีมันเทศให้ละเอียดในระหว่างที่ยังร้อนอยู่ 3. ลูกเกดลวกน้ำอุ่นแล้วสับให้ละเอียด คลุกกับมันเทศบด เติมเนยสดและน้ำตาลทราย นำไปตั้งไฟกวนสักครู่ ใช้ไฟอ่อน 4. ตักมันเทศกวนใส่ผ้าขาวบาง 1 ชต. แล้วบิดผ้าให้เป็นก้อนกลมๆ เมื่อคลี่ผ้าออกจะได้มันเทศบดรูปกลมๆ

เมนู วัย 6-7 เดือน

มันฝรั่งบด
เครื่องปรุงมันฝรั่งขนาดกลาง 1 ผลนมสดหรือน้ำต้มสุก 1/2 ถ.
วิธีปรุง1. ล้างมันฝรั่งให้สะอาดใส่หม้อเติมน้ำให้ท่วม ต้มจนกระทั่งมันฝรั่งสุกนุ่ม ใช้เวลา 20-30 นาที หรือหุ้มด้วย อลูมินัมฟรอยด์อบในเตาอบ อุณหภูมิประมาณ 400 ฟาเรนไฮต์ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที2. นำมันฝรั่งที่ต้มสุกมาลอกเปลือกออก แล้วบดให้ละเอียด ถ้าเหนียวหรือข้นเกินไปให้เติมนมสดหรือน้ำต้มสุก


เฟลคต้มนมสด
เครื่องปรุงเฟลคหรือธัญพืชสำเร็จ 1-2 ช.ต.นมสด 1/4 ถ.
วิธีปรุง 1. ผสมเฟลคกับนมสด แล้วคนเข้าด้วยกัน 2. เทใส่หม้อตุ๋นแล้วกวนสักครู่ พอร้อน ปิดไฟ ยกขึ้น


ฟักทองบด
เครื่องปรุงฟักทอง 2 ช.ต.นมสด 3 ช.ต.
วิธีปรุง1. ต้มฟักทองให้เละ นำมาครูดผ่านกระชอน2. นำฟักทองที่ครูดแล้วใส่หม้อหม้อตุ๋น ยกขึ้นตั้งไฟ ตุ๋นให้ร้อน เติมนมสด คนให้เข้ากัน


ข้าวบดฟักทอง
เครื่องปรุง
ข้าวสุก 1/2 ถ.ฟักทองหั่นชิ้นเล็กๆ 1 ช.ต.น้ำ 2 ถ.
วิธีทำ
1. ต้มข้าวสุกกับน้ำ โดยใช้ไฟอ่อนจนกระทั่งเป็นข้าวต้มเละๆ2. ใส่ฟักทองที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆลงในหม้อ แล้วบดฟักทองกับข้าวเข้าด้วยกันโดยใช้หลังช้อน


บดกะหล่ำดอก
เครื่องปรุงกะหล่ำดอก 2-3 ช่อ
วิธีทำ1. เติมน้ำลงในหม้อสูงจากก้นหม้อประมาณ 1 นิ้ว ต้มน้ำให้เดือด 2. ล้างกะหล่ำดอกให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วใส่ลงในน้ำเดือด ปิดฝาเคี่ยวจนนุ่ม ใช้เวลาประมาณ 7-12 นาที 3. ตักกะหล่ำดอกขึ้นสะเด็ดน้ำ แล้วครูดผ่านกระชอน ถ้าข้นเกินไปให้เติมน้ำต้มกะหล่ำดอกหรือเติมนมก็ได้

แตงกวาต้มน้ำซุป
เครื่องปรุงแตงกวาผลเล็ก 2 ผลน้ำต้มกระดูกไก่ 1 ถ.ซีอิ้วขาวง่วนเชียง 1/2ชช.
วิธีทำ1. แตงกวาปอกเปลือก ผ่าครึ่งคว้านไส้ออก แล้วหั่นชิ้นเล็ก ต้มกับน้ำต้มกระดูกไก่จนสุกนิ่ม ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว2. บดแตงกวาที่ต้มสุกด้วยเครื่องบดไฟฟ้า หรือใช้วิธีครูดผ่านกระชอน


ซุปปลาบด
เครื่องปรุงปลาเนื้อขาว 1 ชิ้น เต้าเจี้ยว 1/4ชช.น้ำซุป 1/4ถ.
วิธีทำ 1. เอาก้างออกจากปลา แล้วใช้ช้อนขูดเนื้อปลา ใช้ประมาณ 1 ชต.2. ต้มน้ำซุปกับเต้าเจี้ยว พอซุปอุ่นๆ ใส่เนื้อปลาลงไปคนให้กระจาย


เต้าหู้ไข่แดงบด
ต้มเต้าหู้อ่อนกับน้ำต้มกระดูกไก่ ด้ววยไฟอ่อนอย่าให้นานนัก - ต้มไข่ไก่จนสุก ใช้แต่ไข่แดง นำมาบดกับเต้าหู้อ่อน เติมน้ำเล็กน้อยให้นิ่มเละ หรือจะใช้ตับสลับกับไข่แดงบ้างก็ได้โดยที่เมื่อเต้าหู้สุกแล้วให้ใส่ตับบดลงไปต้มจนสุก

ไข่แดงตุ๋นนมสด - อุ่นนมในหม้อตุ๋นให้พอร้อน ใส่ไข่แดงงคนให้เข้ากัน นำไปตุ๋น คอยคนบ่อยๆ

คัสตาร์ดไข่แดง - ผสมนมสด 2 ชต. น้ำซุป 1 ชช. และไขข่แดง ( เอาเยื่อไข่แดงออกก่อน ) 1 ฟอง เข้าด้วยกัน ใส่เกลือป่นเล็กน้อย - นำไปนึ่งด้วยไฟแรงปานกลาง ประมาณ 5-7 นาที

มันฝรั่งไข่แดง - หั่นมันฝรั่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ต้มให้สุกนิ่ม บดละเอียด - ต้มไข่ให้สุกแข็ง บดละเอียด ต้มผักอะไรก็ได้ เช่น ตำลึง ผักกาดขาว ผักขม สับเป็นชิ้น ละเอียดเล็กๆ - ละลายเนยสดในหม้อ ผัดผัก มันฝรั่ง และไข่ให้เข้ากัน

ไข่นึ่งผักขม - แช่ขนมปังในน้ำอุ่น หรือจะต้มก็ได้ - ต้มผักขมแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตีไข่ให้เข้ากัน เติมน้ำซุป ปรุงรสด้วยเกลือ หรือซีอิ้วขาวเล็กน้อย - ใส่ผักขมและ ขนมปังลงในชาม เทส่วนผสมของไข่และน้ำซุปลงไป นำไปนึ่งประมาณ 10-15 นาที

ขนมปังต้มกล้วย- ต้มขนมปังในนมสดจนนิ่มเละ - ครูดกล้วยน้ำว้าเอาแต่เนื้อ - พอขนมปังได้ที่ยกลง แล้วรีบเอากล้วยใส่

ปลาตุ๋น - ล้างปลา ขอดเกล็ด แกะก้างให้ดี ใส่เนื้อปลาลงในหม้อตุ๋นเติมนมสดหรือน้ำสุก 2 ชต. - ตุ๋นจนสุกนานประมาณ 20-30 นาที นำไปบดให้ละเอียด

เมนู วัย 3-6 เดือน

ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด ข้าวบด ต้มปลายข้าวกับน้ำ พอเดือดหรี่ไฟ เคี่ยวจนเปื่อย หรือใช้หม้อตุ๋น 2ชั้นก็ได้ บดข้าวในกระชอนตาถี่ หรือบดข้าวในผ่านผ้าขาวบาง หรือหลังช้อนก็ได้ น้ำแกงจืด ใช้ผักใบเขียวชนิดใดก็ได้ ยกเว้นบางชนิดที่มีกลิ่นแรงเช่น ผักชี ใบหอม ขึ้นฉ่าย กุยช่าย ล้างให้สะอาด ซอยละเอียด ต้มในน้ำด้วยไฟแรงจนสีเขียวของผักออก กรองเอาแต่น้ำ

กล้วยน้ำว้าครูด กล้วยน้ำว้าสุกเปลือกเหลืองค่อนข้างงอม ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกด้านที่จะครูดก่อน เพื่อมือจะได้ไม่สัมผัสด้านที่ ยังไม่ได้ครูดใช้ช้อนครูดเอาแต่เฉพาะผิวๆ บดให้ละเอียด ครูดผ่านกระชอนหรือผ้าขาวบางอีกครั้ง กล้วยน้ำว้าครูดนี้สามารถให้ทานเปล่าๆ หรือนำไปผสมกับข้าวบดก็ได้

ข้าวบดกับนม - ผสมนมตามปกติ แล้วเทใส่หม้อ ตั้งไฟฟพอให้ร้อน - ใส่ข้าวบด ( ข้าว 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ นม 1/3ถ้วย ) คนให้เข้ากัน ยกลง- แล้วเติมนมอีก1ช้อนโต๊ะ คนให้ทั่ว

ข้าวบดใส่ไข่แดง - ต้มไข่จนสุก ( ประมาณ 20 นาที ) เอาแตต่ไข่แดงที่สุกจริง ๆ มาบดกับข้าว - ครั้งแรกควรเริ่มให้ไข่แดงแค่ ประมาณ1/4ก่อน ไข่แดงต้องเป็นไข่แดงสุกจริง ๆ เพราะหากเป็นยางมะตูม จะย่อยยาก

ข้าวบดถั่วเขียว นำถั่วเขียวเลาะเปลือกล้างสะอาด แช่น้ำเดือดประมาณ 20 นาที ต้มจนเปื่อย กรองเอาน้ำออก บดให้ละเอียด ผสมกับข้าวหรือจะผสมกับนมที่ให้ทานก็ได้

โจ๊กน้ำต้มตับ ต้มปลายข้าวกับน้ำ พอเดือดใส่ตับ เคี่ยวจนตับสุก และข้าวเปื่อย จากนั้นนำตับขึ้นมาแล้วครูดข้าวให้ ละเอียด หรือ จะใช้วิธี นำตับมาสับ ให้ละเอียดก่อน จากนั้นค่อยนำไปต้มให้สุกแล้วกรองเอาน้ำต้มผสมกับข้าวบด น้ำซุปไข่ แดง ต้มน้ำซุป ( หมูหรือไก่ ) กับผักกาด หรือผักเขียวชนิดใดก็ได้ ต้มจนผักสุก น้ำผักออกสีเขียว บดไข่แดงต้มสุก เติม น้ำซุปที่ต้มกับผัก ( เอาแต่น้ำ ) ลงไปเคี่ยวให้เละและเหลว

ข้าวบดปลา - นำปลามาลอกหนังออกเลาะเอาแต่เนื้อ อยย่าให้มีก้างติด นึ่งหรือต้มจนสุก - นำมาบดผสมกับข้าวบด หรือจะใช้ปลาดิบต้มผสมกับปลายข้าว แล้วนำมาบด ทีหลัง

ฟักทองบด - ต้มหรือนึ่งฟักทองจนสุกนิ่ม ครูดผ่านนกระชอนหรือบดด้วยหลังช้อน - นำฟักทองใส่หม้อตุ๋น ยกขึ้นตั้งไฟตุ๋นให้ร้อน - เติมนมสด คนให้เข้ากัน หรืออาจเติมมไข่แดงบด หรือเนยสด หรือน้ำซุปลงไปด้วยก็ได้ - สามารถเปลี่ยนฟักทอง เป็น มันฝรั่ง แครอท หัวไชเท้า

ซุปเต้าหู้อ่อน ต้มแครอท ให้เละกรองเอาแต่น้ำ หั่นเต้าหู้ อ่อนเป็นชิ้น เล็ก ๆ บดละเอียดใส่ลงในหม้อ เติมน้ำซุป ต้มให้เดือด ละลายแป้งมันใส่เล็กน้อยคนพอสุกข้นยกขึ้น

ขนมปังน้ำแอปเปิ้ล ต้มนมสดในหม้อตุ๋น พอเดือดใส่ขนมปังที่ฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มด้วยไฟอ่อน จนขนมปังเละ นำแอปเปิ้ลบดละเอียดกรองเอาแต่น้ำเติมลงในหม้อขนมปังต้มนม สำหรับน้ำแอปเปิ้ล อาจใช้น้ำผลไม้ที่มีรสหวานแทนก็ได้ เช่น น้ำองุ่น น้ำมะละกอ

น้ำองุ่น (5 เดือน)เครื่องปรุงองุ่น 1 พวงวิธีปรุง- แช่องุ่นในน้ำสะอาด ทิ้งไว้สักพัก แล้วล้างให้สะอาด- ปลิดองุ่นทีละเม็ดออก ล้างให้สะอาด ลอกเปลือก แล้วผ่าแคะเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ - ใช้ผ้าโปร่งที่สะอาด บิดคั้นเอาแต่น้ำ

ข้าวครูด เครื่องปรุงปลายข้าว 2ชต.น้ำ 2 ถ .วิธีทำ1. ต้มปลายข้าวกับน้ำ พอเดือดหรี่ไฟ เคี่ยวจนข้าวสุกและเปื่อย หรืออาจจะตุ๋นก็ได้โดยใช้หม้อตุ๋น 2 ชั้น2. นำมาครูดด้วยกระชอนตาถี่ๆ หรืออาจบดด้วยหลังช้อนจนละเอียดมาก ข้าวครูดนี้อาจใช้ป้อนทารกโดยเติมน้ำ ต้มผัก หรือบดกับกล้วยน้ำว้าสุกก็ได้ *ก่อนครูดข้าวต้องล้างกระชอนให้สะอาด และลวกด้วยน้ำร้อน

ฝึกลูกชันคอ

ฝึกหนูชันคอ
การเคลื่อนไหวของทารกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการชันคอ พลิกคว่ำ คืบ คลาน ล้วนต้องอาศัยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ช่วยในการเคลื่อนไหวทั้งนั้น ในเดือนที่ 4 ลูกน้อยจะสามารถชันคอได้ 90 องศา ชันคอได้แข็งแรงขึ้น ใช้แขนน้อยยันยกตัวขึ้น ศีรษะตั้งตรง เริ่มจะพลิกตัวได้บ้างการชันคอถือเป็นพัฒนาการเริ่มแรกที่เด็กควรทำได้ ซึ่งจะอาศัยการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ให้มีการทำงานที่สมดุลเพื่อพัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวอื่น ๆ คือ คืบ นั่ง คลาน เป็นต้น เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการให้ลูก คุณแม่จะได้เห็นความสามารถของเจ้าตัวน้อย นั่นคือ การชันคอ ชันคอได้ดีด้วยการฝึก เด็กเล็ก 4 เดือนจะชันคอได้ในท่านอนคว่ำคล้ายๆ กบ โดยใช้สองมือยันพื้นพยุงคอและลำตัวได้เล็กน้อย การฝึกการชันคอให้ลูกนั้น คุณแม่ทำได้ด้วยการ- ใช้ของหลอกล่อ โดยให้ลูกนอนคว่ำหน้า และใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใส เช่น แดง เขียว ส้ม วางข้างหน้า ให้เขามองตาม เพื่อฝึกการชันคอและฝึกสายตา ซึ่งสายตาเขาเริ่มมองเห็นได้ในระยะไกลได้และชัดเจนมากขึ้น นั่นเพราะสายตาเด็กจะไวต่อสีสดใส และจะพยายามมองตามสิ่งแปลกใหม่ - ใช้ของเล่นที่มีเสียง บีบในระยะใกล้ๆ และค่อยๆ ห่างออกไปเพื่อให้ลูกมองตาม สังเกตว่าเขาจะพยายามมองหาเสียงนั้นๆ และพยุงตัว ชันคอขึ้นจากพื้น ซึ่งเป็นการฝึกกล้ามเนื้อแขน กระดูกสันหลัง และสะโพกให้แข็งแรงขึ้น รวมทั้งฝึกประสาท หู สายตา ให้ทำงานประสานกันได้ดีขึ้นนั่นเองฃ- ให้นอนคร่อมขาแม่ ให้คุณแม่นั่งเหยียดขาตรง จับลูกนอนคว่ำให้ลำตัวคร่อมที่ขาแม่ ให้ศีรษะเขาเลยไปหน่อย เพื่อฝึกให้เขาหัดชันคอ คุณแม่อาจจะใช้หมอนรองที่หน้าอกลูกเพื่อเขาจะได้ไม่เจ็บ- ให้นอนในพื้นเรียบ เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสพลิกตัวไปมา ให้เขามีอิสระในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน และไม่ควรให้ลูกนอนเปลผ้า จะทำให้พัฒนาการล่าช้า เพราะทารกไม่มีโอกาสได้หัดพลิกคว่ำพลิกหงายตามขั้นตอน และพัฒนาการการนั่ง การคลืบคลาน จะช้าตามไปด้วย นอกจากนี้ยังขาดการกระตุ้นทางสายตาอีกด้วย- อุ้มพาดบ่า ให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยผลัดเป็นท่าพาดบ่าบ้าง ยามเดินเล่น เพื่อฝึกให้เขาได้ชันคอ แต่ทั้งนี้ควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง- ให้ลูกนอนหงาย ให้ลูกนอนหงายในพื้นราบ จับมือทั้งสองข้างให้ลูกลุกขึ้นเบาๆ จะเห็นว่าลูกน้อยจะเกร็งคอเวลาลุก ช่วยให้กล้ามเนื้อคอของลูกน้อยแข้งแรงขึ้นนั่นเองค่ะสิ่งที่บ่งชี้ว่าลูกอาจมีพัฒนาการล่าช้า- อายุครบ 4 เดือนจับนอนคว่ำ ไม่ยอมยกศีรษะหรือชันคอขึ้น - อายุครบ 4 เดือน จับลูกนอนหงาย ใช้แขนดึงลูกให้ลุกขึ้นนั่งตาม ซึ่งลูกน้อยที่มีพัฒนาการปกติจะสามารถหันศีรษะตามได้โดยที่ศีรษะไม่เอนเอียงหรือห้อยคอลงมา

การนวดสัมผัส - เสริมพัฒนาการ

นวดสัมผัส" เสริมพัฒนาการทารก
ถึงจะรู้ว่า "การนวดสัมผัส" ให้คุณประโยชน์มากมายกับลูกน้อย แต่พ่อแม่หลายคู่ก็ไม่ทำให้ลูก มิใช่เพราะไม่อยากทำ แต่เพราะไม่รู้ว่าวิธีการนวดว่าต้องทำอย่างไร ในงานเปิดศูนย์นวดสัมผัสทารกจอห์นสัน เบบี้ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์สัมผัสทารกแห่งแรกในโรงพยาบาลของรัฐบาล ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดสัมผัสมาแนะนำวิธีการนวดแบบง่ายๆ ให้ทารกน้อย
การนวดสัมผัสส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะเป็นการกระตุ้นระบบกล้ามเนื้อระบบประสาท ระบบไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ทารกผ่อนคลาย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ทารกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อารมณ์แจ่มใสและมีพัฒนาการทางสังคมดี รวมทั้งยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบการย่อยของกระเพาะอาหารและลำไส้ ระบายลม ลดอาการท้องอืด หรืออาการโคลิคที่มักเป็นปัญหาทำให้ทารกร้องไห้งอแง และช่วยให้ทารกรับประทานนมได้เพิ่มขึ้น นอนหลับได้นานขึ้น"
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดสัมผัส แนะวิธีการนวดเพื่อกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร คือ "ท่าไอ-เลิฟ-ยู" วิธีการนวดเริ่มจากใช้ฝ่ามือลูบเป็นเส้นตรงใต้ราวนมด้านซ้ายของเด็ก ถึงบริเวณท้องน้อยเป็นรูปตัวไอ ทำซ้ำ 5 ครั้ง จากนั้นใช้ฝ่ามือลูบเป็นตัวแอลกลับหัวบริเวณท้องของเด็ก โดยเริ่มจากซ้ายไปขวาของพ่อ-แม่ ทำครบ 5 ครั้งแล้วใช้ผ่ามือลูบบริเวณท้องเป็นรูปตัวยูคว่ำบริเวณเหนือสะดือ โดยเริ่มจากซ้ายไปขวาของพ่อ-แม่ ทำจนครบ 5 ครั้ง

ข้อควรระวังในการใช้นมขวด

ข้อที่ควรระวังในการให้นมขวด

1. อุณหภูมิของนมขวด ก่อนที่คุณจะเริ่มให้ลูกกินนมขวด ต้องตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำนมก่อนเสมอ ว่าร้อนเกินไปหรือเปล่า โดยการหยดน้ำนมลงบนด้านในของข้อมือ ทารกบางคน ก็กินนมเย็นๆ ได้ บางคนชอบอุ่นๆ
2. ถ้าคุณต้องการอุ่นนมขวดก่อนนำมาให้ลูกกิน วิธีอุ่นนมขวด: คุณแม่ควรนำนมขวดมาอุ่นในภาชนะ ที่ใส่น้ำอุ่นไว้ อย่าอุ่นนมในไมโครเวฟ เพราะนมอาจร้อนจัดเป็นบางแห่งได้
3. ควรมีอุปกรณ์ที่คุณต้องการไว้ใกล้ๆ ตัวก่อนที่คุณจะเริ่มให้นมขวด เพราะเมื่อคุณเริ่มให้นมขวดแก่ลูก จะได้ไม่ต้องลุกขึ้นไปหยิบโน่นหยิบนี่อีก
4. ควรหาที่สบายนั่ง ที่คุณสามารถอุ้มทารกไว้ใน อ้อมกอดได้ขณะป้อนนมขวด หัวลูกอยู่บนข้อพับแขน หลังลูกแนบไปกับวงแขนของคุณ ประคองลูกให้แน่นๆ ให้ลูกนอนใน ลักษณะเอนขึ้นเล็กน้อยเพื่อจะได้ไม่สำลักเวลาดูดนม และหายใจได้สะดวกขึ้น ให้เวลาลูกคุณบ้าง ทารกบางคนดูดนมไปหลับไปก็มี แล้วตื่นขึ้นมาดูดนมต่อ ฉะนั้น ใจเย็นๆ ค่ะคุณแม่ ขอเวลาหนูหน่อย.....
5. หัวนมยาง ขณะที่คุณป้อนนมให้ลูก ควรยกปลายขวดนมให้สูงขึ้นเสมอ เพื่อให้น้ำนมท่วมมิดตรงฝา หรือให้น้ำนมเต็มจุกนม มิฉะนั้น ลูกคุณจะกลืนลมเข้าไปในท้อง ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าจุกนมแบนหรือแฟบในขณะที่ลูกดูดนม ลองขยับหัวนมยางไปรอบๆ ปากลูกเพื่อไล่ให้อากาศไหลกลับเข้าไปในขวด หรือถอนหัวนมยางออกจากปากลูกอย่างเบามือ แล้วไล่อากาศ ถ้าหัวนมยางอุดตัน ควรเปลี่ยนอันใหม่ที่ผ่านการล้างสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว คุณอาจลองใช้หัวนมยางหลายๆ รูปทรงและรูที่ต่างกัน เพื่อดูว่าหัวนมยางแบบไหนที่ลูกคุณชอบและถูกใจ ถ้ารูหัวนมยางเล็กไป ลูกจะดูดได้ช้า ไม่ทันใจ ลูกอาจจะโมโห หงุดหงิด ถ้ารูหัวนมยางใหญ่เกินไป น้ำนมจะไหลเร็วจนลูกดูดไม่ทัน และอาจสำลักนมได้ นอกจากนั้น คุณแม่ต้องตรวจสอบ หัวนมยางเสมอว่าไม่มีการฉีกขาด หรือเสื่อมสภาพ
6. ภายหลังจากที่ลูกกินนมจนอิ่มแล้ว ควรไล่ลมให้ลูกเรอ โดยการลูบหลังเบาๆ หรือตบหลังลูกเบาๆ
7. หลังจากที่ลูกอิ่มนมแล้วแต่ยังมีนมเหลืออยู่ก้นขวด เพราะลูกกินไม่หมด ควรทิ้งไปเสีย ไม่ควรเก็บไว้ จากนั้นจึงรีบล้างทำความสะอาดขวดนมทันที
8. ถ้าลูกร้องระหว่างมื้อนม อาจเป็นเพราะลูกกระหายน้ำก็ได้ ลองให้น้ำสะอาดต้มสุกที่เย็นแล้วให้ลูกดื่มแทน ขวดน้ำนี้ก็ต้องผ่านการล้างสะอาดและฆ่าเชื้อแล้วเช่นเดียวกัน น้ำต้มสุกจะช่วยได้ในกรณีที่ลูกท้องผูกด้วย นอกนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้เครื่อง
ดื่มอื่นใด แก่ลูกวัยแรกเกิดนอกจากนมและน้ำสะอาดต้มสุก

นมแม่ - นมขวด

ทั้งนมแม่และนมขวดต่างดูเหมือนว่าจะมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อทารกไม่น้อยทั้งคู่ แต่นมแม่ดีและปลอดภัยที่สุดสำหรับทารก ทั้งสะดวกในการให้ลูกกินนม และมีสารอาหารครบถ้วนที่ทารกต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น น้ำ, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ นมแม่มีสาร อาหารซึ่งให้ภูมิต้านทานโรคแก่ทารก จนกว่าระบบสร้างภูมิต้านทาน ของทารกจะสมบูรณ์พอ เด็กที่กินนมแม่จึงมีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อต่างๆ ดีกว่า และทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องระบบการย่อยอาหาร ทั้งยังป้องกัน อาการภูมิแพ้ต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น ผลการศึกษาจากหลายสถาบัน แนะนำว่าเด็กที่กินนม แม่มักทำคะแนนได้สูงกว่าเด็กกินนมขวด เมื่อมีการวัดผลทาง IQ ในเวลาต่อมาที่โตพอจะทดสอบได้ ยิ่งไปกว่านั้น นมแม่สามารถทานได้ทุกเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย และผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามธรรมชาติเรียบร้อยแล้ว แต่มีข้อสำคัญ อย่างหนึ่งที่คุณแม่พึงจดจำเสมอก็คือ คุณแม่ที่ให้นมลูกควรทาน อาหารที่มีคุณค่าได้สัดส่วนและมีโปรตีนสูง ทั้งนี้ตัวคุณแม่ต้องการ แคลอรี่เพิ่มขึ้นจำนวน 500 แคลอรี่ต่อวัน และควรดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้มากด้วย ถึงแม้ว่าลูกจะได้รับนมแม่เพียงแค่ 2 - 3 สัปดาห์แรกเท่านั้น แต่นมแม่ก็ยังให้ประโยชน์กับทารกอยู่ดี และการให้นมลูกยัง เป็นผลดีต่อตัวคุณแม่เองด้วย - ช่วยปกป้องจากโรคร้ายที่เต้า นมในระยะหลังจากนั้น ทั้งยังช่วยให้น้ำหนักของคุณแม่ลด ง่ายหลังคลอดอีกด้วย ทั้งทารกที่กินนมแม่และทารกกินนมขวดควรได้รับการให้นมทุกๆ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย แม้ว่าทารกที่กินนมขวดอาจอิ่มนานกว่า ในแต่ละมื้อ หลังจากเดือนแรกจำนวนมื้อนมจะลดลงแต่ลูกจะ ทานมากขึ้น สองอาทิตย์แรกเกิดลูกจะทานนมประมาณ 18 - 22 ออนซ์ต่อวัน แต่เมื่อครบ 1 เดือนจะเพิ่มเป็น 25 ออนซ์

ความสำคัญของนมแม่

ผลดีต่อลูก

1. ได้รับสารอาหารครบถ้วน สมดุล และพอเหมาะแก่ความต้องการของทารก ไม่ทำให้ทารกเป็นโรคขาด สารอาหารหรือโรคอ้วน
2. ได้รับสารอื่นนอกเหนือไปจากสารอาหาร เช่น ฮอร์โมน เอ็นไซม์ สารควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะ ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะบางระบบ
3. ได้รับภูมิคุ้มกันโรคและสารต่อต้านเชื้อโรค
4. ลดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน และโรคฟันผุในเด็ก
5. ได้รับความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่จากแม่

ผลดีต่อแม่

1. ทำให้มดลูกหดตัวดี เข้าอู่เร็ว ขับน้ำคาวปลาได้ดีจากผลของฮอร์โมน
2. ทำให้แม่รูปร่างกลับคืนดีเร็ว เพราะแม่ได้ใช้ไขมันที่สะสมไว้ระหว่างตั้งครรภ์มาใช้ผลิตน้ำนมให้ลูก
3. ทำให้แม่มีความเป็นแม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความรู้สึกผูกพันกับลูก
4. ทำให้ระยะท้องว่างระหว่างตั้งครรภ์ยาวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ไม่เคยเว้นการให้นมลูกเกิน 5 ชั่วโมง และประจำเดือนยังไม่มา จะมีโอกาสไม่ตั้งครรภ์ถึง 98%ในระยะหกเดือนแรกหลังคลอด เป็นการช่วยวางแผนครอบครัวด้วย
5. ไม่เสียเวลา เพราะนมแม่มีพร้อมที่จะให้อยู่เสมอ ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ
6. ประหยัดรายจ่ายของครอบครัว ช่วยให้แม่ที่ให้ลูกกินนมตัวเองนานเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่น้อยลง

นมแม่ดีที่สุด

· นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของทารก อุดมด้วยสารอาหารสำคัญๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกายของทารกในจำนวนที่เหมาะสมสำหรับ 6 เดือนแรกของชีวิต
· เมื่อแรกเกิด ระบบป้องกันการติดเชื้อของทารกยังทำงานได้ไม่ดีนัก นมแม่ซึ่งมีสารอาหารซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายของทารกติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคหวัด, ไอ, การติดเชื้อในหูและท้อง
· ทารกซึ่งเลี้ยงด้วยนมแม่มักจะไม่ค่อยเป็นโรคภูมิแพ้
· นมแม่ย่อยง่าย ทำให้ทารกไม่เป็นโรคปวดท้อง และท้องผูก
· ในน้ำนมแม่มีกรดไขมันชนิดที่ช่วยในการพัฒนาเซลล์สมองให้เจริญ เติบโต
· จากการค้นคว้าพบว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ซึ่งมาจากครอบครัว ที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes) ในตอนเด็ก มักจะไม่ค่อยได้รับโรคในเวลาต่อมา ส่วนในรายที่สงสัยอาจมีอาการแพ้โปรตีนในนมวัว
· นมแม่ทำให้แม่และลูกใกล้ชิดกัน สามารถ สร้างความอบอุ่นและความมั่นคงทางจิตใจ ให้ทารกยามทานนมจากอกแม่และอยู่ใน อ้อมแขนของแม่บุคคลที่เขารักที่สุดในโลก
· การให้นมแม่เป็นการกระตุ้นให้มดลูกกลับเข้าอู่โดยเร็ว คือการกลับไปมีขนาดเท่าเดิมก่อนตั้งครรภ์
· ไขมันที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ จะถูกนำมาสร้างน้ำนมแม่ นั่นหมายความว่าไขมันของคุณจะลดน้อยลงและรูปร่างคุณ จะคืนรูปเร็วขึ้น
· ทารกที่ได้รับนมแม่จะมีพัฒนาการฟันที่ดี เนื่องจากต้องออกแรงดูดนมแม่มากกว่าการดูดนมจากขวด เป็นการบริหารขากรรไกรไปในตัว
· จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ทารกที่ทานนมแม่ส่วนใหญ่มักไม่เป็นผื่นผ้าอ้อม
· จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การให้นมแม่ทำ ให้มารดาลดอัตราความเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม
· ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หากได้รับนมแม่ทำให้มีพัฒนาการทางร่างกายดีขึ้น
· นมแม่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป อยู่ในภาชนะบรรจุเรียบร้อย สะอาด ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องผสมสิ่งอื่น และที่สำคัญฟรีค่ะ
· นมแม่ให้ความสะดวกรวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการชงนม สามารถให้ทารกยามหิวหรือกระหายน้ำได้ทันที ทุกสถานที่ ทุกเวลาแม้ว่าจะเป็นเวลาตี 1!
· ทารกที่ได้รับนมแม่จะยอมรับอาหารเสริมเมื่อถึง เวลาต้องให้อาหารเสริมได้ดีกว่าทารกที่ทานนมขวด เนื่องจากทารกที่ทานนมแม่มีความคุ้นเคยกับอาหาร และเครื่องดื่มที่มารดารับ ประทานเข้าไปในร่างกาย

เรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่มือใหม่

เรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่มือใหม่

คุณแม่มือใหม่เมื่อมีเวลาอยู่กับลูก ก็มักจะคอยเฝ้าสังเกตลูกอย่างละเอียด ซึ่งพอพบสิ่งอะไรๆ ที่ไม่แน่ใจก็จะเกิดความวิตกกังวล ทำให้เสียความมั่นใจในการเลี้ยงดูลูก เกิดความเครียด จึงมักจะมีคำถามเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของลูก มาถามคุณหมอกันดังนี้

กังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัว


ช่วงสัปดาห์แรกของทารก ถึงแม้ลูกจะดูดนมได้ดี ก็ยังจะมีน้ำหนักตัวลดลงได้ ถึงร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกเกิด ทั้งนี้เพราะในช่วงวันแรกๆ ลูกอาจจะยังใช้เวลานอนค่อนข้างมากตลอดวัน และยังไม่ค่อยสนใจที่จะดูดนม บางทีพอเริ่มให้ดูดนมไปได้แป๊บเดียว ก็หลับไปซะแล้ว และลูกจะเริ่มมีการขับถ่ายปัสสาวะ, อุจจาระ และมีการสูญเสียความชื้นทางผิวหนัง เช่น เหงื่อ และทางลมหายใจ โดยเฉพาะในทารกที่ได้นมแม่เพียงอย่างเดียว อาจจะมีนำหนักลดลงได้มากกว่านี้ เพราะส่วนใหญ่น้ำนมแม่จะยังไม่มีมามากพอจนกว่าเข้าวันที่ 3-4 หลังคลอด ในรายที่พบว่าน้ำหนักของลูกในช่วงอายุไม่กี่วันนี้ ลดลงมากกว่าร้อยละ 10 และ/หรือ มีปัสสาวะออกน้อย บางครั้งมีปัสสาวะสีแดงเหมือนตะกอนสีอิฐ แสดงว่าลูกมีปัญหาได้รับนม/น้ำไม่พอ ควรปรึกษาแพทย์

กังวลเกี่ยวกับผื่นต่างๆ ตามแก้มและตามตัว

แม้ว่าคุณแม่กำลังภูมิใจที่ลูกมีผิวที่บางสวยแบบทารก แต่ในเวลาเพียงไม่กี่วัน คุณแม่หลายท่านก็จะเริ่มกังวลที่มองเห็นผื่นจุดเล็กจุดน้อย ตามแก้ม และตามตัว ซึ่งผื่นเหล่านี้จะมีหลายชนิด และบางครั้งดูจะเป็นมากจนน่าตกใจ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้เป็นโรคผิวหนังอะไร และมักจะจางลงจนหายไปเองในเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ได้แก่

1. สิวทารก ( Baby acne) คือ เม็ดขาวๆ ฐานแดงๆ ตามแก้มเหมือนสิว ซึ่งมีคำอธิบายว่าอาจเป็นจากการที่ยังมีผลของฮอร์โมนอิสโตรเจนจากแม่มาทำให้ลูกมี สิวทารกนี้ขึ้น แต่ก็มักจะหายไปเองในเวลาไม่นาน

2 . milia คือ จุดเม็ดขาวๆ เล็กอยู่เป็นกลุ่มที่บริเวณจมูก และแก้ม ที่เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน ซึ่งจะหายไปเองได้

3. Erythema intoxicum ผื่นเม็ดแดงๆ ขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ที่มีหัวบางส่วนเป็นสีขาว หรือสีเหลือง กระจายไปตามหลังและตามหน้าอกเป็นบริเวณกว้าง ทำเอาคุณแม่มือใหม่หลายคนตกใจ ซึ่งมักจะพบในทารกอายุเพียงไม่กี่วัน (ส่วนใหญ่เกิดในทารกอายุน้อยกว่า 10 วัน) และมักจะหายไปเองใน 3-5 วันต่อมา โดยไม่ต้องการรักษาแต่อย่างใด

4. Seborrheic dermatitis คือผื่นที่เป็นเหมือนสะเก็ดหนาๆ เป็นแผ่นหรือกระจุกบริเวณหนังศีรษะ กระหม่อมหน้า และอาจลามมาบริเวณหน้าผาก บริเวณหลังใบหู และระหว่างหัวคิ้วได้บ้าง สำหรับผื่นที่อาจจะมีอันตรายคือผื่นที่ดูลุกลามเร็ว และมีไข้ร่วมด้วย หรือผื่นแพ้แบบลมพิษ หรือมีอาการเห่อแดงแตกมีน้ำเหลืองซึมๆ (infantile eczema) หรือผื่นที่ดูจะลุกลามมากขึ้น หลังการให้การรักษาแบบทั่วๆไปแล้ว ควรปรึกษาแพทย์

กังวลเรื่องแหวะนมหรืออาเจียนบ่อย

ทารกโดยทั่วไปมักจะมีการแหวะนมปริมาณเล็กน้อย หลังทานนมอิ่ม หลังเรอแล้วจับนอน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อหูรูดส่วนที่ควบคุมหลอดอาหารกับกระเพาะในทารกยังทำงานไม่ได้ดีนัก โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย จะมีปัญหาแหวะได้บ่อย แม้ว่าบางครั้งจะดูเหมือนแหวะนมปนน้ำย่อยออกมาปริมาณมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม ซึ่งต้องการการฝึกฝนของคุณแม่ในการป้อนนม

พยายามอย่าให้เด็กกลืนลมมากไป โดยอาจต้องใช้ขวดนมชนิดพิเศษ ที่จะป้องกันการกลืนลม หรือขณะป้อนนมต้องคอยดูให้น้ำนมท่วมบริเวณจุกขวดเสมอ และควรจับให้เด็กเรอในระหว่างการป้อนนมและหลังจากทานนมจนอิ่มแล้ว อีกทั้งให้อุ้มลูกให้อยู่ในท่าศีรษะสูง เช่น อุ้มพาดบ่า สักพักจนกว่าลูกจะเรอได้พอควร ก่อนวางนอน จะช่วยลดการแหวะนมได้ และส่วนใหญ่ปัญหานี้จะดีขึ้นเองเมื่ออายุ 3-4 เดือน

ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยเช่นกันคือ การให้ทานนมมากเกินไป เนื่องจากแม่กลัวว่าลูกจะได้นมไม่พอ เมื่อเห็นลูกร้องไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็จะรีบป้อนนมให้ เพราะคิดว่าลูกหิว ซึ่งโดยธรรมชาติเมื่อลูกมีนมอยู่ในปากก็จะดูดและทานนมต่อได้ ทำให้เด็กได้ทานนมเกือบตลอดเวลา จนได้ปริมาณมากเกินที่กระเพาะจะรับไหว ก็จะมีอาเจียนออกมา (ส่วนใหญ่จะมีนมออกมาปริมาณมากพอควร) จากนั้นก็จะรู้สึกสบายขึ้นพอหลับต่อได้ แต่ในเวลาไม่นานก็จะตื่นมาร้องหิว จะทานนมอีก เพราะอาเจียนนมออกไปจนกระเพาะว่างไปไม่นาน ทำให้เกิดเป็นวงจรการป้อนนมมากจนอาเจียน ที่เรียกว่า overfeeding ซึ่งคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะทำเช่นนั้น โดยไม่รู้ตัว เพราะกลัวว่าลูกจะทานไม่พอ หรืออาจเพราะเชื่อผิดๆว่าต้องให้ดื่มน้ำมากๆ หลังทานนม

นอกจากนี้บางสภาวะที่คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าพบว่าลูกอาเจียน แหวะนมบ่อย เช่น อาเจียนพุ่งค่อนข้างบ่อยหลังป้อนนมอิ่ม และน้ำหนักของลูกไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ทำให้นึกถึง ภาวะกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารกับกระเพาะอ่อนแรงเกินไปเกิดการขย้อนกลับได้ง่าย ที่เรียกว่า gastro-esophageal reflux หรือ กล้ามเนื้อหูรูดของส่วนปลายกระเพาะกับลำไส้เล็กส่วนต้น มีลักษณะตีบแข็งเกินไป ที่เรียกว่า Pyloric stenosis ซึ่งเมื่อนึกถึงภาวะ 2 อย่างนี้แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติมที่เหมาะสมต่อไป เช่น การทำอัลตราซาวน์ หรือ การเอกซเรย์กลืนแป้ง ฯลฯ


กังวลว่าลูกหายใจแรง และบางครั้งมีไอ

ในบางครั้งอยู่เฉยๆ เด็กจะมีจาม หรือมีการหายใจแรงในช่วงที่ลูกกำลังดูดนม หรือกำลังร้องนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะเด็กจะต้องกลั้นหายใจ ขณะที่กำลังดูดและกลืนนม ในช่วงที่ลูกหิวมาก การดูดนมในตอนแรกจะค่อนข้างแรงและต่อเนื่อง จนผ่านไปสักพัก เด็กจะเริ่มดูดช้าลงหน่อย และมีระยะพักหายใจเป็นช่วงๆ ทำให้รู้สึกเหมือนว่าลูกหายใจแรง ดูเหมือนเหนื่อย ในการร้องไห้ก็เช่นกัน เด็กจะร้องค่อนข้างมากและกลั้นหายใจไปด้วย ทำให้เหมือนกำลังดำน้ำ อีกทั้งมีน้ำตาออกมาทำให้ดูเหมือนหายใจครืดคราด เพราะน้ำตาออกมาทางรูจมูก และบางครั้งจะมีไอด้วย

คุณแม่หลายคนจึงกลัวว่าลูกจะเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งปกติที่พบบ่อยในทารก อาการเหล่านี้จะแยกจากอาการหวัดที่ป่วยจริงตรงที่ว่า ถ้าเป็นหวัดจริงคุณจะพบว่าการหายใจของลูกจะครืดคราดค่อนข้างตลอดเวลา ทั้งช่วงทานนม และช่วงที่เขาอยู่สบายๆ เช่น นอนเล่นอยู่ สำหรับเด็กที่มีปัญหาโรคหัวใจที่มีอาการแสดง จะพบว่า การดูดนมจะไม่ค่อยมีแรง และเด็กจะดูเหนื่อย หายใจเร็ว แม้ว่าจะนอนอยู่เฉยๆ จะดูดนมได้น้อย และถ้าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวจะพบว่า มีสีหน้าคล้ำตอนร้องไห้ และคล้ำตอนดูดนมร่วมด้วย ซึ่งถ้ากังวลมากก็ควรปรึกษาแพทย์

กังวลว่าลูกมีอุจจาระสีเข้มผิดปกติ หรือมีปัญหาท้องผูก ท้องเสีย

คุณแม่ส่วนใหญ่จะคอยเฝ้าสังเกตดูอุจจาระของลูก ซึ่งในช่วง 2-3 วันแรก จะเป็นอุจจาระที่เรียกว่า “ขี้เทา” (meconium) มีสีค่อนข้างดำเขียว ต่อมาเมื่อลูกทานนมได้ดีขึ้นอุจจาระก็จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง และเนื้ออุจจาระจะเป็นเละๆหน่อยในรายที่เลี้ยงด้วยนมแม่ เด็กบางคนจะถ่ายบ่อย แทบจะทุกมื้อ หลังทานนม ในช่วงแรกๆ และต่อมาก็จะเริ่มมีการถ่ายอุจจาระที่เหนียวขึ้น และห่างครั้งออกไป อาจเป็นเพียงวันละ 1-2 หน หรือเป็นวันเว้นวัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ถือว่าท้องผูก โดยให้ถือลักษณะของอุจจาระเป็นเกณฑ์สำคัญ คือ ในรายที่ท้องผูก อุจจาระจะเป็นก้อนแข็ง หรือเป็นเม็ดๆ และบางครั้งจะเจ็บ บางครั้งมีเลือดสดติดมากับก้อนอุจจาระ แต่ถ้าลักษณะของอุจาระเป็นเนื้อนุ่มหรือเหนียว แม้เด็กจะทำท่าร้องหรือเบ่งบ้าง ก็ไม่เป็นปัญหา ไม่เรียกว่าท้องผูก เช่นกัน ในเรื่องท้องเสีย ถ้าถ่ายเป็นน้ำจู๊ดๆ แม้เพียงครั้ง หรือ สองครั้งก็ถือว่าท้องเสีย และรายที่มีอุจจาระเละมาก เป็นมูกๆ หรือมีมูกเลือดปน แม้จะไม่กี่ครั้งก็ถือเป็นท้องเสีย ซึ่งควรปรึกษาแพทย์

คุณอาจจะเก็บตัวอย่างอุจจาระสดใส่ในขวดพลาสติคหรือถุงพลาสติกสะอาด นำไปให้แพทย์ดูด้วยก็ได้ การนำผ้าอ้อมที่เปื้อนอุจจาระไปให้ดูบางครั้งอุจาระที่มีจะค่อนข้างแห้งไปหมดจนดูรายละเอียดไม่ได้มาก และอาจทำให้ไม่สามารถส่งตรวจเพิ่มเติมได้ ในบางครั้งอุจาระที่เป็นปกติจะไม่เป็นสีเหลืองแต่จะเป็นสีเขียวปนเทา เพราะเป็นสีของน้ำดีหรือธาตุเหล็กในนมที่คลุกเคล้าอยู่ในอุจจาระ และขึ้นกับความถี่บ่อยของการถ่าย และชนิดของนมที่ใช้ด้วย นมผสมบางยี่ห้อจะทำให้อุจจาระมีสีค่อนข้างเข้มได้บ่อย และบางครั้งอุจาระจะมีกลิ่นที่ค่อนข้างแรง ซึ่งไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด

กังวลว่าลูกร้องกวนมาก

เป็นเรื่องปกติที่ทารกจะร้องค่อนข้างบ่อยในช่วงเดือนแรกๆ เพราะการร้องเป็นวิธีเดียวที่ลูกจะใช้ในการสื่อสารกับคุณแม่ เพื่อบอกว่าเขาต้องการคุณแม่นะ แต่จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม คุณแม่ก็จะค่อยๆเรียนรู้เองว่า ลักษณะการร้องแบบนี้... สงสัยเดี๋ยวจะอึแน่........ ร้องแบบนี้...ท่าจะหิว......... ร้องแบบนี้...อยากให้อุ้ม ฯลฯ แต่ก็มีบางครั้งที่พบว่าเด็กจะร้องกวนโยเยอย่างไม่ทราบสาเหตุ ไม่ว่าจะทำอะไรๆให้ก็ไม่ถูกใจ ไม่ยอมหยุดร้อง และมักจะเป็นค่อนข้างบ่อยในเวลาตอนเย็น ร้องไปนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก็จะเหนื่อยหลับไปเอง บางครั้งก็ดูเหมือนท้องอืดๆ มีลม ... กรณีเช่นนี้ก็คือการร้อง 3 เดือน หรือที่รู้จักกันในนาม โคลิก (colic) ซึ่งยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุ อาการโคลิกนี้จะหายไปเองในช่วงอายุประมาณ 3-4 เดือน

ถ้าคุณแม่กังวล ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์ อาจจะมีการให้ยาขับลมเพื่อลดแกสในกระเพาะ ถ้ายังไม่ดีขึ้นบางครั้งอาจลองเปลี่ยนนมเป็นนมที่ทำให้มีแกสน้อย เช่น นมที่ไม่มีสารแลคโตส หรือในบางรายถ้านึกถึงกรณีแพ้นมวัว ก็ใช้นมสูตรพิเศษสำหรับลดปัญหาการแพ้นมวัว ที่เรียกว่า hypoallergenic formula หรือ นมถั่วเหลืองสำหรับทารกให้ลองใช้ดู ซึ่งทารกส่วนใหญ่มักจะมีอาการดีขึ้นและคลี่คลายปัญหาการร้องกวนไปในที่สุด แต่ก็ยังจะมีไม่กี่รายที่เป็นโคลิกตัวจริง ที่จะร้องกวนมากๆ ต่อไป



การเสริมพัฒนาการเด็ก

การเสริม พัฒนาการเด็ก 0-3 เดือน

การเสริม พัฒนาการเด็ก 0-3 เดือนแม้ว่าเด็กในวัยนี้ จะมี พัฒนาการ อย่างช้าๆ แต่ก้อ มีความสำคัญ อย่างมาก นะคะ เพราะการส่งเสริมพัฒนาการ จะเป็น การสร้างพื้นฐาน ที่ดีให้กับเด็ก ในช่วงต่อๆไปค่ะ
1.การเสริม พัฒนาการ ด้านร่างกายในช่วงนี้ เด็ก ควรจะทาน น้ำนมแม่ จะดีที่สุด เพราะ ทารกทั่วไป จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละหนึ่งกิโลกรัม ในช่วงสองเดือนแรก และ จะเพิ่มขึ้น เดือนละ 0.5 กิโลกรัมในเดือน ต่อๆไปควรสังเกตว่า ลูกได้รับน้ำนม เพียงพอหรือไม่ โดยสังเกตจาก น้ำหนัก ว่าขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่ การปัสสาวะ 3-5 ครั้งต่อวัน ความยาว ของตัวเด็ก เพิ่มประมาณ 3.5 ซม.ต่อเดือน และสังเกต ดูว่า เด็ก มีอารมณ์ดี สดชื่น แจ่มใส ประกอบด้วยค่ะ สำหรับ คุณแม่ ที่ไม่สามารถ ให้นมลูก ได้ด้วยตัวเอง ควร เลือกนม ที่มีส่วนประกอบ ใกล้เคียง น้ำนมแม่ มากที่สุดค่ะ2.การ เสริมพัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหวเนื่องจาก เด็กในช่วงนี้ จะพัฒนา ความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อคอ เช่นการผงกศีรษะ การชันคอ การหันซ้ายขวาในท่าการนอนคว่ำ ดังนั้น ควรส่งเสริม พัฒนาการ เช่น การอุ้มพาดบ่า ในท่าคว่ำหน้า ทำให้เพิ่ม พัฒนาการของ กล้ามเนื้อคอและหลัง การยื่นหน้า ของ คุณแม่ คุณพ่อ เข้าไปใกล้ๆ ระยะประมาณหนึ่งฟุต เมื่อ เด็กนอนคว่ำ พร้อมส่งเสียง พูดคุยและ ขยับใบหน้าไปมา ซ้ายขวา บนล่าง เพื่อให้ ลูกน้อย ของเรามองตาม หรือ ผงกศีรษะ การให้ ลูก นอนคว่ำ ไม่ควร หนุนหมอน และเลือก ที่นอน ที่ไม่นุ่มจนเกินไปการแขวน โมบาย สีสันสดใส หรือวาง ของเล่นที่มีขนาดใหญ่ ในระยะ 8-14 นิ้ว หรือขยับไปมา ก็จะทำให้ ลูกน้อยของคุณ สามารถมองตาม และ ขยับกล้ามเนื้อ เพื่อความแข็งแรง เช่นกัน3.การ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านภาษาจากเดิม ที่มีการ ส่งเสียงร้อง เพียงอย่างเดียว ในช่วงแรก ทารก จะสามารถ ส่งเสียง อ้อแอ้ ตอบโต้การพูดคุยของ คุณพ่อ คุณแม่ ได้ ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมด้วย การพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น "หิวหรือยังจ๊ะ" "ไปอาบน้ำกันนะจ๊ะ" "ได้เวลาทานนมแล้วจ้า" เป็นต้น4.การส่งเสริม พัฒนาการด้านสังคมทารก จะมีพัฒนาการ จากเดิมที่ไม่มองหน้า ไม่จ้องหน้า หรือ สบตาคุณพ่อ คุณแม่ โดยจะเริ่ม จ้องมองหน้า สบตา หรือยิ้มตอบได้ รวมถึง การส่งเสียงอ้อแอ้ ในขณะที่มีการพูดคุย หรือร่วมกิจกรรมต่างๆด้วยกัน โดยจะใช้ เสียงร้อง เพื่อบ่งบอก ความต้องการด้วย เช่น หิว ปวด ไม่สบายตัว ง่วง เป็นต้น ดังนั้น ควรพูดคุย ส่งเสียงหรือ เล่นกับลูก โดยยื่นหน้าเข้าไปในระยะ 8-14 นิ้ว ขณะที่ ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เพื่อให้ เด็กทารก มีปฎิกิริยา ตอบโต้และส่งเสริม พัฒนาการทางสังคม มากขึ้น

พัฒนาการเด็ก 3-6 เดือน
การเสริม พัฒนาการเด็ก 3-6 เดือน
เด็กในวัยนี้ จะมีพัฒนาการ อย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก รวมถึงเริ่มเข้าใจภาษามากขึ้นและจะซนมากขึ้นด้วย ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ 1.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านร่างกายในช่วงนี้ เด็ก จะยังคงทาน น้ำนม เป็นอาหารหลัก และควรเป็น น้ำนมแม่ จะดีที่สุด คุณแม่ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง อาจจะให้น้ำนมได้ถึง 6 เดือน ทารก จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความยาว ของตัวเด็ก เพิ่มประมาณ 2 ซม.ต่อเดือน ควรเริ่มให้อาหารเสริมตามวัย ทดแทนนม 1 มื้อเมื่ออายุ 4 เดือน และพยายามงดการให้นมในมื้อดึก เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือนขึ้นไป2.การ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหวเด็กในช่วงนี้ จะพัฒนา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการพลิกคว่ำ พลิกหงาย ไขว่คว้า สิ่งของต่างๆและการมองเห็นได้ ในระยะที่ไกลขึ้น ดังนั้น ควรส่งเสริม พัฒนาการ เช่น การเล่นกับลูกด้วยของเล่นชิ้นโปรด เพื่อให้ลูกได้พยายามพลิกคว่ำ พลิกหงาย โดยหา ของเล่น ที่เขย่าแล้วมีเสียง เล่นกับลูก ฝึกให้มีการเอื้อม ไขว่คว้า เขย่า เปลี่ยนมือ ถือของ จัดหาของเล่น ที่ปลอดภัยและมีผิวสัมผัสต่างๆกัน เช่น ไม้ พลาสติก ผ้า ยาง เป็นต้น เด็กจะมองเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว และวัตถุที่มีสีสันสดใส หรือของเล่น ได้ในระยะที่ไกล ขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 6 เดือน นอกจากนี้ ถ้าจับเด็กนั่ง เด็ก จะยกศีรษะตั้งตรงได้ และนั่งพิงได้นานขึ้น เมื่ออุ้มในท่ายืน จะชอบเอาเท้ายันพื้นและกระโดดไปมา สามารถใช้มือประคองขวดนมได้ สำรวจสิ่งของต่างๆ ด้วยการหยิบเข้าปาก ดังนั้นควรจัดสิ่งแวดล้อม ภายในบ้านให้เอื้อต่อการเคลื่อนไหวของลูก ไม่วางสิ่งของเกะกะ จนเป็นอันตรายต่อลูก3.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านภาษาเด็กจะสามารถ ส่งเสียง หัวเราะ หันตามเสียงเรียกของ คุณพ่อ คุณแม่ ได้ ดังนั้นจึงควร ส่งเสริม ด้วยการพูดคุย กับลูกโดยใช้ภาษา สั้นๆ ง่ายๆ และน้ำเสียงสูงต่ำ ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ4.การส่งเสริม พัฒนาการด้านสังคมเด็กจะมีพัฒนาการ จำพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูได้ เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เริ่มแยกแยะคนแปลกหน้าได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน รวมถึงการจดจำชื่อของตัวเองได้ และหันตามเสียงเรียกชื่อของตัวเอง ดังนั้นพ่อแม่ ควรเรียกชื่อลูกบ่อยๆ พูดคุย เล่น หรือ ร้องเพลงกับลูก อาจ อุ้มลูก นั่งตักและอ่าน หนังสือภาพ นิทาน ให้ลูกฟัง ควรหาโอกาสให้ลูกได้พบปะคนแปลกหน้า ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง รวมถึงให้ลูกฟัง เพลง ดนตรี เสียงอื่นๆ เช่น เสียงสัตว์ ต่างๆ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ถึง ความแตกต่าง โดยเด็กจะตอบสนอง ด้วยอาการต่างๆผ่านทางสีหน้า เช่นดีใจ ยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ กลัว โกรธ เป็นต้น

พัฒนาการเด็ก 6-9 เดือน
การส่งเสริม พัฒนาการเด็ก 6-9 เดือน
เด็กในวัยนี้ จะมีพัฒนาการ ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวตัว การใช้มือ อะไรๆก็ดูน่าตื่นเต้นสำหรับลูกน้อยไปหมดค่ะ ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ 1.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านร่างกายในช่วงนี้ เด็ก จะยังคงทาน น้ำนมเป็นอาหารหลัก จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความยาว ของตัวเด็ก เพิ่มประมาณ 1.5ซม.ต่อเดือน ควรให้อาหารเสริมตามวัย ทดแทนนม 1 มื้อและเพิ่มเป็น 2 มื้อเมื่ออายุ 7 เดือน 2.การ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหวเด็กในช่วงนี้ จะนั่งเองได้ชั่วครู่ ยืนได้ถ้ามีคนพยุง บางคนจะเริ่มคลานเมื่ออายุ 8 เดือนดังนั้น ควรส่งเสริม พัฒนาการ เช่น การเล่นกับลูกโดยจับลูกยืนแล้วโยกไปมาตามจังหวะ เพราะเด็กช่วงนี้จะชอบเคลื่อนไหวเป็นพิเศษ อาจกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหวโดยใช้ของเล่น หรือ ชวนลูกเล่นขี่ม้า บิน เหาะ เด็กจะชอบมากค่ะ นอกจากนี้ควรให้ลูกหัดดื่มนมจากถ้วยเมื่ออายุ 9 เดือน ให้ลูกหยิบจับของเล่นที่มีลักษณะหลากหลาย เช่น มีเสียง ของเล่นผ้า ของเล่นไม้ เพื่อช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ ของลูกค่ะ3.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านภาษาเด็กจะสามารถ ส่งเสียงซ้ำๆ เช่น หม่ำๆ ปาปา ดังนั้นจึงควร ส่งเสริม ด้วยการพูดคุย กับลูก ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อ่านหนังสือ ให้ลูกฟัง4.การส่งเสริม พัฒนาการด้านสังคมเด็กจะแยกแยะคนแปลกหน้าได้ เป็นนักสำรวจชอบค้นหาสิ่งของที่ซ่อนไว้ และจะหยุดชั่วขณะ เมื่อได้ยิน คำว่า ไม่ หรือ อย่า เข้าใจสีหน้า ท่าทางทีเห็นเป็นประจำ ดังนั้นพ่อแม่ ควรจะฝึกให้ลูกเล่นกับคนอื่นบ้าง ซ่อนของแล้วให้ลูกหา พูดว่าอย่า หรือ ไม่ พร้อมกับส่ายหน้าเพื่อให้ลูกเข้าใจท่าทาง พูดคุยกับลูกในสิ่งที่ลูกกำลังสนใจ

การส่งเสริม พัฒนาการเด็ก 9-12 เดือน
ตอนนี้ลูกน้อยจะรู้สึกว่าตัวเองโตขึ้นแล้ว เริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง และรู้จักการปฏิเสธมากขึ้นการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ 1.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านร่างกายในช่วงนี้ เด็ก จะยังคงทาน น้ำนมเป็นอาหารหลัก ให้อาหารเสริมตามวัย 2 มื้อ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความยาว เพิ่มประมาณ 1.2ซม.ต่อเดือน 2.การ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหวเด็กในช่วงนี้ จะเริ่มตั้งไข่ และเกาะเดินได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควร ส่งเสริม พัฒนาการ โดยการจูงมือลูกเดินเล่นบ่อยๆ วางของเล่นไว้บนโซฟาให้ลูกเกาะเดินไปหยิบ หรืออาจจะให้ลูกหัดเดินเข้าหาในระยะใกล้ๆค่ะ ส่วนพัฒนาการการใช้มือเด็กจะเริ่มใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับของชิ้นเล็กๆ ได้ ใช้มือข้างหนึ่งถือของส่วนอีกมือทำอย่างอื่นได้ ควรส่งเสริม พัฒนาการโดยหัดให้ลูกจับช้อนส้อมเอง3.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านภาษาเด็กจะสามารถ พูดและเข้าใจคำสั้นๆได้เมื่ออายุประมาณ 1ขวบ และเข้าใจการสื่อสารด้วยท่าทาง เช่น ส่งจูบ ชี้เมื่อต้องการ ส่ายหัวเมื่อไม่ต้องการเป็นต้น ดังนั้นจึงควร ส่งเสริม ด้วยการพูดคุย กับลูกบ่อยๆ และชี้ชวนให้ดูสิ่งต่างๆรอบตัว 4.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านสังคมเด็กจะแสดงอาการพอใจด้วยการตบมือ เลียนแบบสีหน้า ท่าทางได้ ควร ส่งเสริมด้วยการ เล่นจ๊ะเอ๋ หรือซ่อนของ ให้ลูกเล่นกับเด็กอื่น หรือพบปะผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง

ลักษณะทารกแรกคลอด

ลักษณะของทารกแรกคลอด
ทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักระหว่าง 2.5 - 4.5 กก. และมีความยาวตั้งแต่ 48 - 51 ซม. ลักษณะของทารกแรกคลอดมีดังนี้
1. ศีรษะ ทารกแรกคลอดจะมีศีรษะใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ดูผิดรูป ทั้งนี้เพราะขณะที่ลูกค่อยๆ เคลื่อนมาตามช่องคลอด หัวจะค่อยๆ ถูกบีบไปตามลักษณะช่องคลอด บางครั้งหัวด้านข้างของลูกอาจดูบวม เพราะถูกกด อาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสมอง และจะยุบหายไปเองในเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนบนของศีรษะลูกที่คลำดูนิ่มๆ เรียกว่ากระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) เป็นส่วนที่กะโหลกยังประสานกันไม่หมด จะค่อยๆ ปิดสนิทเมื่อลูกอายุ 18 เดือน บางทีคุณอาจสังเกตเห็นส่วนนี้เต้นตุบๆ เมื่อลูกหายใจ


2. ผิวหนังทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีไขเคลือบผิว เพื่อช่วยหล่อลื่นเวลาไหลเคลื่อนผ่านช่องคลอด และช่วยป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนังได้ ไขนี้จะหลุดลอกออกไปเองตามธรรมชาติในเวลา 1 - 2 วัน จุดและผื่นต่างๆ จะพบได้ตามปรกติ และจะค่อยๆ จางหายไปจนกลืนไปกับผิวส่วนอื่นหนังลอก หนังบริเวณมือและเท้าจะลอกออกไปใน 2 - 3 วันขนอ่อนตามตัว (Lanugo) ซึ่งปกคลุมร่างกายลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง พบมากเป็นพิเศษในทารกคลอดก่อนกำหนด จะค่อยๆ หลุดลอก ออกไปเองภายในเวลา 2 สัปดาห์ และขนที่แท้จริงจะงอกขึ้นมาแทนที่ปาน เมื่อคุณแม่พินิจพิจารณาดูลูกอย่างใกล้ชิด คุณจะเห็นปาน ตามตัวของลูกมีลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนมากเกิดจากกลุ่มเลือด ฝอยใต้ผิวหนัง ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด เพราะปรกติ แล้วจะหายไปเองปาน, ปานแดง: เป็นรอยปื้นสีชมพูจางๆ หรือแดง พบบ่อยที่บริเวณจมูก, เปลือกตา และต้นคอด้านหลัง จะจางหายไปในราว 1 ปีปานสตรอเบอรี่ (Strawberry marks): จะมีสีแดงคล้ำ บางครั้งปรากฏขึ้น 2 - 3 วันหลังคลอด จะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขวบปีแรก แล้วจะจางหายไปเมื่ออายุราว 5 ขวบปานพอร์ตไวน์สเตน (Port wine stain): เป็นปานแดงชนิดถาวร มีลักษณะเป็นปื้นขนาดใหญ่ มักพบบริเวณหน้าและลำคอของทารก หากมีข้อสงสัย, กังวลเกี่ยวกับปานชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ปานมองโกเลีย (Mongolian spot): มักจะพบในทารกที่มีสีผิวคล้ำ เช่นททารกผิวดำ, ทารกเอเชีย มักเป็นบริเวณก้น หรือบริเวณหลัง ส่วนล่างของทารก อาจดูเหมือนรอยเขียวช้ำ ไม่มีอันตรายใดๆ และจะจางหายไปในที่สุด

3. เต้านมบ่อยทีเดียวที่พบทารกมีเต้านมไม่ว่าหญิงหรือชายดูโตกว่าปรกติ และอาจมีน้ำนมไหลออกมาด้วย เนื่องจากฮอร์โมนจากแม่ผ่าน ไปสู่ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และยังมีผลต่อลูกอยู่ในช่วงหลังคลอดนี้ อย่าบีบน้ำนมจากเต้านมของลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการ อักเสบจนเป็นฝีได้ เต้านมจะยุบไปเองในไม่ช้า

4. สายสะดือสายสะดือจะเหี่ยว, แห้งและหลุดออกไปเอง ประมาณ 10 วัน หลังคลอด ควรเปิดสะดือให้แห้ง จะสะอาดและหลุดง่าย

5. อวัยวะเพศทารกชาย หากคลอดครบกำหนด ลูกอัณฑะมักจะลงมา ในถุงอัณฑะตั้งแต่แรกคลอดอยู่แล้ว ถ้าสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ทารกหญิง อาจมีสีคล้ำ บวมเล็กน้อย บางคนมีมูกคล้ายตกขาว บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอดคล้ายๆ ประจำเดือนเมื่ออายุ 2 - 3 วัน เป็นเพราะฮอร์โมน
จากคุณแม่ที่ผ่านสายรก (พร้อมฮอร์โมนที่ทำให้เต้านมโต) และจะหายไปเองในเวลา 1 - 2 สัปดาห์

6. มือและเท้าปลายมือปลายเท้าของทารกแรกเกิดอาจมีสีเขียวคล้ำ เนื่องจากเลือดยังไหลเวียนไม่ดี และมักมีเล็บยาว ทำให้ขีดข่วนหน้า ควรเล็มออกเล็กน้อย ยามลูกนอนหลับ หากจะสวมถุงมือถุงเท้าให้ลูก ต้องสำรวจดูด้านในของถุงมือ ถุงเท้าเสียก่อนว่า ไม่มีเส้นด้ายรุ่งริ่ง เพราะอาจไปรัดนิ้วของลูกได้ ผิวบางส่วนอาจดูแห้งและหลุดลอก ซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน

7. การหายใจทารกแรกเกิดมักจะหายใจไม่สม่ำเสมอเหมือนผู้ใหญ่ คือจะหายใจเป็นพักๆ และหยุดเป็นพักๆ ได้ อัตราการหายใจของเด็กแรกเกิด จะเท่ากับ 20 - 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งเร็วกว่าผู้ใหญ่ปรกติ

8. อุจจาระทารกแรกเกิดส่วนมากจะถ่ายภายใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า "ขี้เทา" (Meconium) มีลักษณะเหนียวๆ สีเขียวดำ วันต่อมาจะมีสีจางลง วันที่ 3 - 4 จะมีสีเหลือง ดูเหลว เด็กที่กินนมแม่จะมีอุจจาระสีเหลืองทอง ถ้าทานนมขวดจะเป็นก้อน อาจถ่ายยากสักนิดเมื่อเทียบ กับเด็กที่กินนมแม่ ปรกติทารกแรกเกิดจะถ่ายบ่อย วันละ 3 - 5 ครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าท้องเสีย หรือท้องเดินตัวเหลือง (Jaundice)อาการตัวเหลืองจะปรากฏขึ้นในวันที่ 3 หลังคลอด ที่นัยน์ตาขาวก็อาจมีสีเหลืองด้วย แต่เหลืองไม่มาก และจะค่อยๆ จางหายไปในเวลา 6 - 7 วัน จนหายไป เมื่อเด็กอายุได้ 1 - 3 สัปดาห์ ถ้าเหลืองจัดหรือมีอาการ ตัวเหลืองนาน ควรรีบปรึกษาแพทย์

การดูแลคุณแม่หลังคลอด

การดูแลคุณแม่หลังคลอด แบบโบราณ
1. การอบสมุนไพร
การอบสมุนไพรไทยหลังการคลอด เป็นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น แจ่มใส สะอาด สำหรับผู้ที่คลอดปกติ จะทำการอบได้เมื่อครบกำหนด 7 วัน และสำหรับผู้ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอบได้เมื่อครอบหลังคลอด 30 วัน
ตัวยาในการอบรมสมุนไพร มีดังนี้ คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะกรูด และผิวมะกรูด ใบหญ้าคา ใบพลับพลึง ว่านน้ำ ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ว่านนางคำ ใบเปล้าหลวง ขิง ใบช้าพลู ใบส้มป่อย
วิธีอบ ควรอบวันละประมาณ 20 นาที และอบสมุนไพรทุก ๆ วันจนครบ 7 วัน
2. การประคบสมุนไพร
เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ และลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ ซึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร
วิธีประคบ ใช้ลูกประคบ 3 ลูก ใช้นั่งทับ 1 ลูก อีก 2 ลูก ใช้ประคบตามร่างกายและเต้านมประคบทุกวันจนนมหายคัด หลังจากประคบอาจใช้น้ำที่เหลือจากการอบสมุนไพร ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วอาบให้หมดแล้วจึงอาบน้ำอุ่น ๆ ล้างอีกครั้งหนึ่ง
3. การนั่งถ่าน
เป็นการใช้ความร้อนและควันจากการเผาไหม้ของตัวยาสมุนไพร เพื่ออบบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยสมานแผลจากการคลอดบุตร ส่วนประกอบในตัวยามีดังนี้ ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก เปลือกต้นชลูด ขมิ้นผงและใบหมาก
วิธีการนั่งถ่าน
หั่นตัวยาสมุนไพรให้ละเอียด แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
ก่อเตาไฟเล็ก ๆ และกลบขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นั่งเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางวางครอบเตาไฟ
เอาตัวยาสมุนไพรโรยบนเตาถ่าน จะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพลุ่งขึ้นมาเอง
มารดาหลังคลอดนั่งบนเก้าอี้ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ให้มารดาหลังคลอดนั่งถ่านวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ ½ ชม. โดยทำภายหลังจากการนาบหม้อเกลือ
4. วิธีนั่งอิฐ
นำอิฐแดงย่างหรือเผาให้ร้อน แล้วเอาออกมาวางบนวัตถุที่ทนร้อน เอาใบปลีหลวงหรือใบพลับพลึงวางซ้อน ๆ กันหลาย ๆ ชั้น ให้นั่งทับ ค่อย ๆ นั่งลงไปเพราะนั่งทีเดียวจะร้อนมาก มารดาหลังคลอดจะรู้สึกสบาย ร่างกายแข็งแรงเร็ว ห้ามสระผมภายใน 7 วัน หลัง 7 วันจึงสระน้ำอุ่นได้ (วิธีนี้เป็นวิธีพื้นบ้านภาคเหนือ)
หรือใช้อิฐย่างไฟให้ร้อน นำมาห่อด้วยผ้าขาวม้าตามยาว ม้วนผ้าขาวม้าให้รอบอิฐ นำมาผูกไว้บริเวณตำแหน่งของมดลูกที่หน้าท้อง เพื่อให้ความร้อนผ่านเข้าสู่หน้าท้อง ทำให้มดลูกแข็งแรงขึ้น
5. การอยู่ไฟชุด
วิธีนี้จะมีไฟชุดสำเร็จรูปเป็นกล่อง ที่สามารถนำความร้อนประมาณ 4 กล่อง ภายในกล่องจะใส่ก้านแท่ง แล้วใส่ลงในผ้าซึ่งตัดเย็บไว้พอดีที่กล่องทั้ง 4 จะวางได้ โดยผ้านั้นจะมีเชือกสำหรับนำมาคาดที่เอว หรือบริเวณที่มีอาการปวด หรือบริเวณหน้าท้อง วิธีนี้ลดอาการปวดมดลูกได้
6. การอยู่ไฟญวณ
วิธีนี้เราจะใช้ไม้กระดานให้มารดาหลังคลอดนอนแบบไม้กระดาน เช่น เกี่ยวกับการอยู่ไฟกระดาน แต่ต่างกันตรงที่เอาเตาไฟไว้ใต้ไม้กระดานนั้น ในช่วงบริเวณหลังของมารดาหลังคลอด
7. การอยู่ไฟกระดาน
วิธีนี้คล้าย ๆ กับการอยู่ไฟญวณ แต่ต่างกันตรงที่วิธีนี้เตาไฟจะวางไว้ข้าง ๆ ไม้กระดาน โดยความร้อนจากเตาไฟจะไม่ผ่านหลังโดยตรง
8. การทับหม้อเกลือ
อุปกรณ์ที่ใช้
ผ้าปูสี่เหลี่ยม 1 ผืน
หม้อทะนน (เตรียมไว้ 4 ใบ)
เตาถ่านขนาดให้พอดีกับหม้อ
เกล็ดเกลือ (เติมในหม้อทะนน) ตั้งไฟสุก ๆ ประมาณ 15 นาที
ตัวสมุนไพร เช่น ไพลสด 1 ส่วน ว่านนางดำ ½ ส่วน ว่านชักมดลูก ½ ส่วน การบูร พอประมาณ ใบพลับพลึง และใบละหุ่ง
วิธีทำ
ล้างไพลให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ว่านนางคำและว่านชักมดลูกผสมการบูรลงไป
นำใบพลับพลึงมากางใบออก เอาด้านหน้าวางบนไหล่ 2 ใบ ตั้งฉากกัน วางหม้อเกลือทับใบพลับพลึง ห่อผ้ามัดให้แน่น
ทุกครั้งที่เปลี่ยนหม้อใหม่ ควรเติมตัวยาให้พอดีกับยาที่แห้งไป ถ้ายาแห้งมากให้พรมน้ำ

วิธีทับหม้อเกลือ
ท่าที่ 1 นอนหงาย ให้โกยท้องก่อน แล้วจึงนำเอามุมหม้อเกลือวางหมุนไปรอบ ๆ หมุนวน 1 รอบ วางพักหม้อเกลือเหนือหัวเหน่า แล้วหมุนทำใหม่ 5-6 รอบ
ข้อควรระวัง หม้อต้องไม่ร้อนเกินไป เพราะผ้าอาจไหม้ได้ บริเวณใต้อกห้ามวางแรง ๆ เพราะจะทำให้จุกแน่นได้ ต้องโกยลำไส้ก่อนทำทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ไส้พอง
ท่าที่ 2 การเข้าตะเกียบ เอาหม้อเกลือวางด้านข้างบริเวณช่องกล้ามเนื้อขาด้านนอก กดไล่ขึ้น-บน ต้นขา บนร่องกล้ามเนื้อหน้าแข็งด้านใน เสร็จแล้วจับตาดูผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะที่สามารถใช้หม้อเกลือกดทับขาด้านในได้ ในลักษณะกด-ยก กด-ยก ซึ่งสามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ เสร็จแล้วเปลี่ยนหม้อเกลือใหม่
ท่าที่ 3 นอนตะแคง หลังคลอดจะมีอาการปวดหลังมาก ให้ใช้กรองเกลือกดทับบริเวณช่วงกระเบนเหน็บ ใช้มือซ้ายพยุงสะโพกด้านบน มืออีกข้างหนึ่งจับหม้อ เอวด้านข้างกดทับหนุนไปมาหลายครั้ง ๆ จากนั้นกดไล่ขึ้นตามร่องกระดูกสันหลัง
ท่าที่ 4 ท่านอนคว่ำ เอาหม้อเกลือทับท้องขาใต้ก้น
ข้อควรระวังในการทับหม้อเกลือ
ผู้ป่วยมีไข้
หลังกินอาหาร
มดลูกต้องเข้าอู่ก่อน
ผ่าตัดคลอด ห้ามทับ ต้องรอถึง 45 วัน
ประโยชน์ของการทับ
ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้สนิทมากขึ้น
ลดไขมันหน้าท้อง แก้อาการปวดเมื่อย
ทำให้น้ำคาวปลาไหลดีขึ้น
ให้ทำตอนเช้า ครั้งละ 2 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3-5 วัน

บทสวดเพื่อคลอดง่าย

เค้าบอกต่อกันมาคะ ลองทำก็ไม่เสียหายอะไร

ยโตหัง ภคินี
อริยายะ
ชาติยา ชาโต นาภิชา นามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา
เตนะ สัจเจนะ
โสตภิเต โหตุ โสตภิ คัพภัสสะ

การเตรียมความพร้อมเพื่อไปคลอด

อาการแสดงว่าจะคลอด
การเริ่มการคลอดหมายถึงการที่มดลูกมีการบีบรัดตัวเพื่อที่จะขับเคลื่อนทารกในครรภ์ให้ออกสู่โลกภายนอก โดยปกติธรรมชาติของมดลูกขณะตั้งครรภ์จะมีการบีบตัวเป็นพัก ๆ เสมือนกับการเตรียมตัว ฝึกซ้อมการหดรัดตัวมาตลอดช่วงการตั้งครรภ์ แต่เป็นการหดรัดตัวที่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ก่อความเจ็บให้แก่มารดา เมื่อเข้าสู่กระบวนการคลอด การหดรัดตัวของมดลูกก็จะเข้าสู่ระบบ คือการบีบรัดตัวจะรุนแรงขึ้น ๆ ระยะเวลาจะสั้นลงและสั้นลงจนเข้าสู่ความคงที่ 3 รอบการบีบตัวใน 10 นาที ในช่วงเวลานี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเริ่มกระบวนการคลอดแต่อาจจะแตกต่างกันไป อาการปวดท้องเป็นพัก ๆ จะเป็นอาการนำ แต่ในบางคนจะรู้สึกถึงอาการปวดหลังนำมาก่อน และจะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ก่อนปวดก็อาจพบมูกเลือดได้ เนื่องจากปากมดลูกเปิดขยายและเมือกที่อุดอยู่จะหลุดออกมา น้ำเดินเป็นอาการสำคัญที่จะบอกว่า ภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้าการคลอดต้องสิ้นสุดลง ถ้ามีน้ำเดินมาก่อนเริ่มมีการคลอด ถือเป็นสภาวะผิดปกติที่จะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็วเตรียมความพร้อมให้กับคุณแม่ยังสาวทั้งก่อนและหลังคลอดเมื่อคุณผู้หญิงต้องรับบทคุณแม่ที่กำลังจะมีลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไปค่ะ คุณต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่ช่วยตั้งครรภ์ คุณแม่ควรพิถีพิถันดูแลเอาใจใส่สุขภาพตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่การฝากครรภ์เพื่อช่วยให้คุณแม่ และทารกน้อยมีความปลอดภัยจากโรคทุกชนิด คุณแม่ต้องไปพบแพทย์ตามที่นัดทุกครั้ง ห้ามพลาดนะค่ะ และหากเกิดมีอาการผิดปกติ อาเจียนบ่อยครั้ง มีเลือดซึมออกทางช่องคลอด หรือมีตกขาวมาก น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน นอกจากนี้ในขณะที่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ซึ่งจะช่วยบำรุงให้มารดา และทารกมีสุขภาพที่แข็งแรง ควรทานผักและผลไม้ เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องผูก ช่วยให้ขับถ่ายง่าย รวมถึงเลือกใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ ใส่รองเท้าส้นเตี้ย หลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8-10 ชั่วโมง"ในช่วงระหว่างใกล้คลอด คุณแม่มีอาการเจ็บท้องถี่ขึ้นเรื่อย ๆ มีน้ำเดินและมีมูกเลือดออกมาตามช่องคลอดนั่นแสดงว่าใกล้เวลาที่ทารกน้อยกำลังจะออกมาลืมตาดูโลก"ข้าวของที่จะตระะเตรียมไปโรงพยาบาล คือ ของใช้ส่วนตัว ของใช้สำหรับเด็กอ่อน และที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด หลักฐานในการทำสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนของคุณพ่อและคุณแม่หลังจากคุณแม่คลอดลูกน้อยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องพักผ่อนมาก ๆ ดูแลตัวเอง และลูกน้อยให้มีสุขภาพและพลานามัยที่แข็งแรง ที่สำคัญเดือนแรกหลังการคลอดควรหลีกเลี่ยงจากการทำงานหนัก ห้ามยกของหนักแต่ออกกำลังกายเล็กน้อย หรือทำงานเบา ๆ ได้ค่ะ และถ้าหากมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าปกติควรเริ่มบริหารร่างกาย หลังคลอดแล้วประมาณ 6 อาทิตย์

สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ
ของใช้ของลูกแรกคลอด เลือกซื้อเฉพาะของที่จำเป็น ที่ต้องใช้ ค่าใช้จ่ายตกประมาณ 10,000 บาท ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดแล้ว หลายๆ ครอบครัวอาจจะต้องวางงบไว้สูงกว่านี้มาก

1.ผ้าอ้อม ประมาณ 5-6 โหล เพราะเด็กแรกเกิดไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ถ้าอยู่ที่บ้าน เพราะเด็กเล็ก ถ่ายบ่อยมาก วันละหลายหน ใช้ แล้วจะเปลืองมาก

2.ขวดนม ประมาณครึ่งโหล น้ำยาล้างขวดนม แปรงล้างขวดนม(กาต้มน้ำไฟฟ้า ทุกบ้านจะมีอยู่แล้ว)

3.หม้อนึ่งขวดนม ราคาแพง 2-3 พัน หากไม่อยากซื้อก็ใช้หม้อต้มเอาก็ได้ ซื้อหม้อสแตนเลส ถูกว่า ประมาณ 3-4 ร้อยบาทเอง

4.เสื้อ ซื้อประมาณ 1 โหลก็พอที่ราคาไม่แพงนัก เพราะจะใช้ไม่นาน ควรซื้อ size L จะใช้ได้ถึง 9-12 เดือน

5.ผ้าเช็ดตัว ประมาณ 3 โหล ผืนขนาดกลาง ราคาไม่แพงมาก แต่คุณภาพจะไม่เหมือนของผู้ใหญ่ ที่ร้านจะจัดให้เอง

6.เครื่องนอน 1 หรือ 2 ชุด สำหรับคนที่ชอบเดินทาง ที่นอนไม่ควรซื้อที่นอนเด็กเพราะใช้ได้ไม่นาน ควรซื้อที่นอนขนาดใหญ่ดีกว่า หรือไม่ก็เป็นที่นอนเตียงเดี่ยวไปเลย ถ้าซื้ออันเล็ก ก็ซื้อแบบที่เดินทางสะดวก

7.มุ้ง หรือขนาดใหญ่เลย แต่เด็กโต จะไม่ค่อยชอบมุ้ง

8.ที่อาบน้ำเด็ก ก็สำคัญนะสำหรับพ่อแม่มือใหม่ เพราะจะช่วยได้เยอะ ราคาไม่แพงหรอกอยู่ที่ 170-200 บาท กะละมัง อาบน้ำเด็ก ตรงนี้คงต้องซื้อ หลายขนาด ถ้าใหญ่จะอันตรายเพราะเราจะอาบไม่ถนัด อันนี้ขึ้นกับความสามารถของพ่อแม่

9.อื่นๆ เช่น แป้ง ยาสระผม ผงซักฟอกเด็ก ไม่ควรใช้รวมกับผู้ใหญ่เพราะผิวเด็กบอบบางมาก โคโดโมะ แพงกว่าโฮม แต่ว่าดีกว่า(ฟองน้ำที่มาจากธรรมชาตไม่จำเป็นซื้อมาแล้วไม่ค่อยได้ใช้ )
สำลี เด็กเล็กใช้เยอะมาก ซื้อเป็นโหลเลย


การกระตุ้นพัฒนการของทารกในครรภ์


การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์สามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้ ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และสภาพแวดล้อมที่ดี การที่แม่พยายามสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อลูกในครรภ์ จึงเป็นการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก แม่ที่อารมณ์ดีจะทำให้ทารกอารมณ์ดีเช่นกัน สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะจะพัฒนาเซลล์สมองทารกให้มีขนาดใหญ่ มีเส้นใยประสาทมากขึ้น เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

แนวทางการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ เพิ่มรูปภาพ
ระบบการได้ยิน ประมาณอายุครรภ์ 24-26 สัปดาห์ขึ้นไป ระบบการได้ยินของทารกจะมีการพัฒนาเต็มที่โดยรับรู้และตอบสนองต่อเสียงที่อยู่รอบตัวได้ ดังนั้นจึงมีการนำเอาเสียงภายนอกมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ วิธีการนี้จะทำให้ทารกเคยชินต่อเสียง และเป็นการพัฒนาภาษาพร้อมกันไปด้วย a. การใช้เสียงดนตรี ตามปกติแล้วจะมีเสียงต่างๆ ผ่านเข้ามาถึงตัวทารกที่อยู่ในท้องแม่ตลอดเวลา เสียงที่เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้ทารกควรเป็นเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะเบาๆ เช่น เพลงบรรเลง อาจเป็นเพลงคลาสสิกหรือเพลงไทยเดิมก็ได้ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ที่มากกว่า 24 สัปดาห์ เพราะประสาทสัมผัสและระบบการได้ยินของทารกจะพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ในช่วงนั้น (ทารกที่คลอดออกมามีพัฒนาการด้านร่างกายและไอคิวสูง เลี้ยงง่าย มีอารมณ์แจ่มใสและมีความผูกพันกับแม่) ทารกมักแจ่มใสและเคลื่อนไหวในเวลาเย็น เป็นเวลาที่ทารกตื่นตัว พร้อมที่จะรับฟังเสียงได้ โดยสังเกตได้จากการดิ้นของทารก ซึ่งแสดงว่าทารกยังไม่หลับจะเป็นช่วงที่เหมาะสม แนวทางปฏิบัติ ให้เปิดเทปเพลงบรรเลงเย็นๆ ให้แม่และทารกในครรภ์ฟังไปพร้อมกัน เปิดเพลงวันละครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที ก็เพียงพอแล้ว ถ้าเปิดซ้ำบ่อยๆทารกจะคุ้นชินและจดจำเพลงได้ หลังคลอดเมื่อเปิดเพลงเดิมนั้นอีก จะช่วยให้ทารกไม่ร้องกวนและหลับง่ายขึ้น เนื่องจากความเคยชินต่อเสียงเพลงนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์


เสียงพูดคุยของมารดา เสียงของแม่ถือได้ว่าเป็นเสียงธรรมชาติและเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพของทารกในครรภ์ได้ เสียงที่นุ่มนวล เสียงร้องเพลง จะช่วยให้ทารกจดจำเสียงนั้นได้ดีขึ้น แนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์พับเป็นรูปปากกรวย ปลายส่วนที่แคบเป็นทางเข้าของเสียงแม่ ส่วนปลายกว้างไว้จ่อบริเวณหน้าท้องเพื่อให้ทารกรับฟัง หรือใช้เครื่องมือพูดคุยกับทารกในครรภ์ที่เรียกว่า Infant Phone ซึ่งมีปลายหนึ่งไว้ให้มารดาพูด ส่วนอีกปลายหนึ่งไว้ครอบที่หน้าท้อง บริเวณใกล้ศีรษะของทารกในครรภ์ก็ได้ โดยแม่อาจเล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมทารกบ่อยๆ เพื่อให้ทารกชินกับนิทานหรือเพลงขับกล่อมนั้นๆ ตั้งแต่ในครรภ์ เมื่อคลอดแล้วมารดาสามารถนำนิทาน หรือเพลงขับกล่อมนั้นมาช่วยทำให้ทารกสงบและหลับง่ายขึ้นระบบรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ทารกจะมีการเคลื่อนไหวและได้รับการสัมผัสตลอดเวลาที่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะขณะที่แม่ขยับตัว หรือลูบและสัมผัสทารกในครรภ์โดยผ่านทางหน้าท้องนั้น ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก ทุกสัมผัสที่เกิดขึ้นจะพัฒนาเส้นใยประสาทของสมองส่วนรับความรู้สึก เพิ่มประสิทธิภาพและความไวในการรับรู้ของทารก เพื่อเตรียมพร้อมให้ใช้งานได้ดีในช่วงหลังคลอด ขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างความอบอุ่น และความผูกพันระหว่างแม่ลูก การที่แม่นั่งบนเก้าอี้โยกไปมานั้น นอกจากจะกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวแล้วยังทำให้ทารกในครรภ์ได้ปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ แนวทางปฏิบัติ ให้แม่ลูบหน้าท้อง และนั่งโยกบนเก้าอี้ได้ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าในช่วงนี้ทารกยัง ไม่สามารถรับรู้ แต่แม่จะรู้สึกผ่อนคลายขณะนั่งเล่นบนเก้าอี้โยก และรู้สึกผูกพันกับทารกขณะลูบหน้าท้องตัวเอง จนเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป ระบบประสาทการเคลื่อนไหวของทารกจะมีความพร้อมต่อการรับรู้การสัมผัสของแม่ระบบการมองเห็น ทารกจะพัฒนาเต็มที่ และรับรู้ผ่านการมองเห็นได้เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป


การใข้ไฟฉาย และแสงสว่าง ส่องผ่านเข้าไปถึงทารกในครรภ์โดยผ่านทางปากมดลูก เพื่อดูการตอบสนองของการเต้นของหัวใจ และทดสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ถ้าการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้นตอนส่องไฟ แสดงว่าทารกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าดีและมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในทางตรงข้าม หากให้แสงแล้ว การเต้นของหัวใจทารกไม่สูงขึ้น แสดงว่าทารกในครรภ์อาจมีปัญหาเกิดขึ้น การใช้ไฟฉายเล็กส่องบนหน้าท้องไปมาจะเป็นการทดสอบสายตาทารกในครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์

มาเริ่มดูพัฒนการลูกน้อยในครรภ์กันเลยคะ

เดือนที่ 1 จะมีพัฒนาการทางสมอง ตา ปาก หู ด้านใน ระบบการย่อย แขนและขา หัวใจเริ่มเต้น กระดูกสันหลังได้รับการพัฒนา ขนาดของเด็กจะขยาย 1/4 นิ้ว

เดือนที่ 2 มีใบหน้าแต่ไม่มีหนังตา มีข้อศอก มือนิ้วเท้า มีปอด กระดูกเริ่มแข็งแรง เด็กเริ่มเคลื่อนไหว ขนาดของเด็กจะยาว 1 1/8 นิ้ว

เดือนที่ 3 เริ่มยืดขากำหมัดหันศีรษะไปมาได้ หัวใจสมบูรณ์ ริมฝีปากและอวัยวะเพศเริ่มก่อตัว คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ว่าเด็กกำลังดิ้น ขนาดของเด็กจะยาวประมาณ 3 นิ้ว

เดือนที่ 4 เริ่มมีผม ขนคิ้ว ขนตา เล็บเริ่มงอก มีข้อต่อ กล่องเสียง เริ่มรับรู้รสชาติ ขนาดของเด็กจะยาวประมาณ 7 นิ้ว

เดือนที่ 5 เด็กเริ่มมีการเตะถีบ หมุนตัวไปมา มีผม ขน ดูดมือได้ ขนาดของเด็กจะยาวประมาณ 10-12 นิ้ว

เดือนที่ 6 เด็กสามารถลืมตาและหลับตาได้ ได้ยินเสียง มีลายนิ้วมือและนิ้วเท้า แต่เด็กจะยังผอมอยู่เพราะยังไม่ได้รับไขมันเพียงพอ

เดือนที่ 7 เด็กปกคลุมด้วยผิวหนังที่แตงแต่งยังเหี่ยวย่นอยู่ น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว ปอดเกือบสมบูรณ์ ผิวหนังมีไขสีเทา สามารถคลอดในระยะนี้ได้ขนาดของเด็กจะยาวประมาณ 14-17 นิ้ว

เดือนที่ 8 เด็กมีองค์ประกอบครบถ้วน และเริ่มได้ยินเสียงจากภายนอก

เดือนที่ 9 เด็กเติบโตเต็มที่ ผิวหนังเกลี้ยง เริ่มเอาศรีษะลงและพร้อมที่จะกำเนิด ขนาดของเด็กจะยาวประมาณ 20-22 นิ้ว

การปฏิบัติและดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์

การปฏิบัติตนและดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์
การปฏิบัติ มีข้อง่ายๆ ดังนี้

โภชนาการ ที่เหมาะสม ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปัจจุบันเราถือว่าคนท้องคนตั้งครรภ์ไม่ใช่คนป่วย ดังนั้นอาหารแสลงสำหรับหญิงตั้งครรภ์จึงไม่มี มีเพียงแต่ว่าอาหารบางอย่างต้องจำกัดลงบ้าง การรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมจะส่งผลถึงความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนตั้งครรภ์นั้น มีกฎเกณฑ์ที่ควรคำนึงคร่าวๆ คือคนตั้งครรภ์ต้องการอาหารเพิ่มอีกวันละ 300-500 กว่าแคลลอรี่ เช่นถ้ารับประทานมากกว่าปกติไปโดยเพิ่มข้าวขาหมูจานใหญ่อีก 1 จาน จะเท่ากับได้แคลอรี่เพิ่มเติมไปอีกประมาณ 400-500 แคลอรี่ ควรคำนึงว่า ไม่ว่าคุณแม่จะทานมากเท่าใดก็ตาม ทารกในครรภ์ก็จะหนัก โดยเฉลี่ย 3 กิโลกรัม ซึ่งในสภาวะการตั้งครรภ์ตามปกติ คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นโดยประมาณ 10-12 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์ แม้คุณแม่จะน้ำหนักเพิ่มอีก 20-30 กิโลกรัม ทารกในครรภ์ก็จะหนักโดยประมาณ 3 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย ดังนั้นการทานอาหารที่พอเหมาะและมีอาหารครบทุกหมู่ โดยเน้นหนักที่อาหารจำพวกผักและโปรตีน รวมทั้งผลไม้ที่มีวิตามินซีมากๆ จะเป็นประโยชน์มากที่สุดต่อทารกในครรภ์และมารดา ส่วนเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน มีก๊าซอัดไว้และมีแอลกอฮอล์ รวมทั้งบุหรี่ ไม่เหมาะต่อการตั้งครรภ์และเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ได้

การพักผ่อนสำหรับสตรีตั้งครรภ์ การนอนหรือการพักผ่อนให้เพียงพอ จำเป็นสำหรับคนตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สาม หญิงที่ตั้งครรภ์ จะเหนื่อยง่ายกว่าปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์จะทำหน้าที่คล้ายกาฝากแฝงอยู่ อวัยวะแม่ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น การนอนและการพักผ่อนในตอนกลางวัน เป็นสิ่งควรปฏิบัติพร้อมกับการยกขาสูงขึ้นเพื่อให้โลหิตหมุนเวียนได้ดีขึ้น ปัจจุบันสภาพสังคม ทำให้สตรีต้องทำงานนอกบ้าน ประกอบธุรกิจ ข้อจำกัดของเวลามีอยู่มาก ทำให้การนอนและการพักผ่อนแบบเป็นกิจจะลักษณะทำได้ยาก แต่มีข้อแนะนำว่า เมื่อมีเวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง ที่พอกระทำได้ เพียงแต่เอนกาย ยกขาสูง ช่วงสั้นๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ข้อแนะนำที่จะช่วยให้มีเวลานอนพักผ่อนมากขึ้น คือพยายามลดงานประจำ เช่น ลดงานบ้านลง เข้านอนเร็วขึ้น 1-2 ชม. หรือการนอนหลับระหว่างเดินทาง เป็นต้น และในยามกลางคืน คนตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงข้างด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับเส้นเลือดใหญ่ และให้ยกปลายเท้าสูงพอประมาณ ขนาดความหนาของหมอนหนุนศรีษะและควรกอดหมอนข้างไว้

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์
หมายถึง การตั้งครรภ์ที่ผู้เป็นแม่ ไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ ตลอดการตั้งครรภ์ และสามารถตั้งครรภ์จนครบ ซึ่งในทางการแพทย์การตั้งครรภ์ครบกำหนด หมายถึง การตั้งครรภ์ครบ 37 - 40 สัปดาห์ เพราะในช่วงหลังจากนี้ไป ทารกในครรภ์จะมีระบบการหายใจที่สมบูรณ์ สำหรับในด้านการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะต้องดำเนินไปตามปกติ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทำให้เกิดความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ภายใน มือ แขนและขา จะต้องครบถ้วนไม่มีความผิดปกติ กล่าวโดยสรุปก็คือต้องมีความปกติทั้งแม่และเด็กทารกในครรภ์ ซึ่งความผิดปกติในท่าของเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ก็มีส่วนเช่นกันแต่จะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อได้เวลาเข้าสู่การคลอด รกซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อของทารกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ถ้ารกเกาะผิดปกติ รกผิดรูปร่าง รวมทั้งความผิดปกติของเส้นเลือดที่มากับรกก็ถือเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์เช่นกัน ความผิดปกติบางอย่างทั้งในมารดาและทารก อาจจะป้องกันและแก้ไขได้ ดังนั้นการฝากครรภ์ก็มีจุดประสงค์เพื่อดูแลให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปตามปกติ ตามสถิติที่มีการรวบรวมไว้พบว่า 80-90 % ของการตั้งครรภ์ เป็นการตั้งครรภ์ปกติ มีเพียง 10 กว่าเปอร์เซนต์เท่านั้นที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ

การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่

การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในขณะนี้ ซึ่งจะดูความพร้อมจาก
1.ความพร้อมและความเต็มใจ และตั้งใจแน่วแน่ว่าพร้อมที่จะเป็นพ่อแม่
2.ความพร้อมด้านร่างก่าย ของพ่อแม่
3.ความพร้อมด้านจิตใจ
4.ความพร้อมทางสภาพเศรษฐกิจ
5.ความพร้อมทางสังคม และสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย...

การวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว ปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แต่ถ้าในอดีตคิดว่าไม่จำเป็น เป็นการวางแผนเพื่ออนาคตข้างหน้า

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

ครอบครัว คืออะไร

ครอบครัว คือ จุดเริ่มต้นของคนสองคนซึ่งส่วนมากเกิดมาจากความรัก ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจกัน ความเอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจกัน ความเสียสละ และความสุข